วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม



 
          ประวัติความเป็นมา ภาควิชาเคมีก่อตั้งขึ้นและทำการสอนเมื่อครั้งยังเป็นวิทยาลัยวิชาการศึกษาในปีพ.ศ.2521 จนกระทั่ง
ได้รับการยกถานะเป็นมหาวิทยาลัยศรีนคริณทรวิโรฒ มหาสารคาม และปีพ.ศ. 2537 ได้เปลี่ยนสภาพ
เป็นมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปัจจุบันเปิดสอนหลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิตวท.บ.(เคมี)วิทยาศาสตร
มหาบัณฑิตวท.ม.(เคมีศึกษา) วท.ม.(เคมี) และหลักสูตรวิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต วท.ด.(เคมี)

ปรัชญา
ผู้มีปัญญาพึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน
ปณิธาน
มุ่งผลิตบัณฑิตทางด้านวิทยาศาสตร์ ให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการ มีคุณธรรม จริยธรรม พัฒนาการวิจัยและการบริการวิชาการโดยผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน
วิสัยทัศน์
เป็นภาควิชาเคมีที่ได้รับการยอมรับในเชิงวิชาการและงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ
พันธกิจ
1. ผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของสังคมทางด้านวิชาการ มีคุณธรรม จริยธรรม มีความเป็นประชาธิปไตยและห่างไกลยาเสพติด
2. จัดการศึกษาและพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์เคมีให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการ โดยมีการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล
3. ผลิตผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการทางด้านวิทยาศาสตร์เคมีที่มีคุณภาพทั้งระดับพื้นฐานและระดับประยุกต์ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาท้องถิ่นและประเทศ และเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
4. ให้บริการวิชาการแก่สังคม เพื่อตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นและประเทศ
5. อนุรักษ์และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทยและความเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น
6. สร้างความร่วมมือกับสถาบันหรือหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
แนวทางในการประกอบอาชีพ
เมื่อสำเร็จการศึกษาจะสามารถเข้าทำงานในหน่วยงานต่าง ๆ ได้หลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็น
บริษัทเอกชน หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือประกอบอาชีพส่วนตัวตัวอย่างหน่วยงานเอกชนที่
สามารถเข้าทำงานได้ เช่น บริษัทเคมีภัณฑ์ โรงงานยาสูบ โรงงานผลิตอาหาร บริษัทน้ำอัดลม
โรงงานน้ำตาล บริษัทน้ำมัน โรงงานผลิตเส้นใย โรงงานผลิตผงซักฟอก โรงงานปูนซีเมนต์ โรงงานสี
โรงงานกระจก โรงงานผลิตเยื่อกระดาษ เป็นต้น สำหรับหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ ได้แก่
กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ กองพิสูจน์หลักฐาน กรมตำรวจ กรมศุลกากร การไฟฟ้า
ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค กรมทรัพยากรธรณี
กรมวิทยาศาสตร์บริการ กรมพัฒนาที่ดิน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงนปรมาณู
เพื่อสันติ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เป็นต้น
แนวทางในการศึกษาต่อ
สามารถศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่ทำการเปิดสอนสาขาวิชาเคมีและสาขาวิชา
ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

วิทยาศาสตร์...(*_*)^

เวลาว่าง...ของการทำแล็บ ( *_*)zzZ

ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆๆ...(^+^)

สารอันตรายในบุหรี่

ควันบุหรี่จะประกอบไปด้วยสารเคมีที่มีอันตรายต่อสุขภาพกายของคนเราประมาณ 4000 ชนิด ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ 3 กลุ่ม คือ
กลุ่มแรกได้แก่ ทาร์ หรือ น้ำมันดิน หรือที่เห็นเป็นคราบบุหรี่นั่นเอง เป็นที่รวมของสารเคมีที่น่าสพึงกลัวที่สุด ในกลุ่มของไฮโดรคาร์บอนจะรวมตัวเป็นเป็นสารที่มีความเหนียวติดอยู่กับเนื้อปอด มีคุณสมบัติเป็นสารก่อมะเร็งโดยตัวของมันเอง และยังมีสารที่เร่งการเจริญเติบโตของมะเร็ง หากผู้สูบบุหรี่นั้นมีมะเร็งอยู่ในร่างกายแล้ว
กลุ่มที่สอง ได้แก่ นิโคติน ซึ่งจัดเป็นสารที่มีการกระตุ้นสมองและประสาทส่วนกลางได้ในระยะแรก แต่ระยะต่อมาจะมีฤทธิ์กดระบบประสาท นอกจากนี้ยังทำให้เส้นเลือดหดตัว มีผลทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น กระตุ้นหัวใจให้เต้นเร็วขึ้นด้วย นิโคตินนี่เองที่มีส่วนทำให้คนที่สูบบุหรี่อยากสูบอยู่เรื่อย ๆ
กลุ่มที่สาม ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซคึ่งมีความเข้มข้นสูงในควันบุหรี่จะไปขัดขวางการรับออกซิเจนของเม็ดเลือดแดง และยังทำให้ไขมันพอกพูนตามผนังเส้นเลือดมากขึ้น ทำให้เส้นเลือดตีบ สายตาเสื่อม ลดประสิทธิภาพในการตัดสินใจและลดการตอบสนองต่อเสียง ซึ่งเป็นอันตรายต่อคนขับรถ นักบิน และ ลดสมรรถภาพของนักกีฬาด้วย
ทั้งอังกฤษและสหรัฐอเมริกาได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่า การสูบบุหรี่ทำให้เกิดมะเร็งปอด และโรคอื่น ๆ ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2506 และ 2507 ตามลำดับ ควันบุหรี่มีสารก่อมะเร็งประมาณ 42 ชนิด จึงจัดได้ว่าควันบุหรี่เป็นแหล่งของสารก่อมะเร็งที่มากที่สุดและน่าสพึงกลัวที่สุดของมนุษยชาติ
ท่านที่ฟังเรื่องราวของสารอันตรายในบุหรี่มาถึงตรงนี้แล้ว ขอได้โปรดช่วยกันป้องกันลูกหลานของพวกเรา ที่ยังไม่เริ่มที่จะเข้าไปแตะต้องบุหรี่เป็นอันดับแรก ชวนให้เขาฟังเรื่องนี้ใหม่และลองเปรียบเทียบเหตุผลที่เขาอยากสูบบุหรี่กับผลร้ายที่จะตามมาว่า เขาจะได้อะไรจากการสูบบุหรี่ คุ้มค่ากับที่เขาจะเสี่ยงต่ออันตรายร้ายแรงต่าง ๆ หรือไม่ ส่วนท่านที่สูบบุหรี่อยู่แล้ว ก็คงจะไม่สายเกินไปที่จะเลิกบุหรี่ สองสิ่งแรกที่ท่านจะได้ทันทีจากการเลิกสูบบุหรี่ก็คือ ตัวท่านรับสารพิษน้อยลงไป และบุญกุศลจากการที่ท่านจะไม่ทำร้ายผู้อื่นอีกต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำร้ายคนในครอบครัวของท่านเอง

รณรงค์งดสูบบุหรี่ กลุ่ม D-jaa

มลพิษจากสารอันตราย

  • ปัจจุบันประเทศไทยมีการนำสารอันตรายเข้ามาใช้ประโยชน์ในการพัฒนา ทั้งทางด้านการเกษตร อุตสาหกรรม และสาธารณสุขเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ทั้งชนิดและปริมาณ โดยนำสารอันตรายทั้งในรูปสารเคมีอินทรีย์และสารอนินทรีย์เข้ามาจากประเทศเพื่มขึ้นจาก 1.31 ล้านตัน ในปี พ.ศ. 2531 เป็น 2.79 ล้านตัน ในปี พ.ศ. 2536 สารอันตรายที่นำเข้าเหล่านี้ จะอยู่ในลักษณะที่เป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปและสารเคมีพื้นฐาน ที่จะต้องนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิตอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมต่อไป โดยส่วนใหญ่จะเป็นสารที่จัดอยู่ในจำพวกวัตถุไวไฟ วัตถุระเบิด วัตถุมีพิษ และวัตถุกัดกร่อน สารอันตรายเหล่านี้ปัจจุบันนำมาใช้อย่างไม่ถูกต้อง ขาดความรับผิดชอบ และความตะหนัก ตลอดจนขาดการรักกุมในการควบคุมอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การนำเข้า การผลิต การจำหน่าย การขนส่ง การใช้การเก็บรักษา และการทำลายกาก ได้มีผลทำให้เกิดอุบัติภัยร้ายแรงและเกิดพิษภัยอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งความเป็นพิษนี้เป็นได้ทั้งแบบเฉียบพัน และเรื้อรัง รวมทั้งสร้างความสูญเสียทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนด้วย นอกจากนี้ยังมีการตรวจพบสารเคมีตกค้างในสิ่งแวดล้อมต่างๆ ทั้งในดิน น้ำ และตะกอน ซึ่งสะสมขึ้นเรื่อยๆ จนอาจนำไปสู่ความเสียหายของระบบนิเวศน์ได้ และที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือการตกค้างของสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชในผลิตผลการเกษตร ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบต่อผู้บริโภคและการส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศด้วย
     
  • ปัญหามลพิษจากสารอันตรายดังกล่าว ได้มีการแก้ไปแล้วบางส่วนแต่ก็ยังมีแนวโน้มที่จะรุนแรงมากขึ้นต่อไปในอนาคตได้ เนื่องจากประเทศไทยกำลังพัฒนาเป็นประเทศกึ่งอุตสาหกรรมหรือประเทศอุตสาหกรรมใหม่จึงมีแนวโน้มที่จะต้องนำสารอันตรายเข้ามาใช้ประโยชน์มากขึ้น ซึ่งจะมีผลทำให้เกิดปัญหามลพิษจากสารอันตรายมากขึ้นด้วนเช่นกัน ถ้าขาดการจัดการที่เหมาะสมตั้งแต่ขั้นตอนการนำเข้า การผลิต การจำหน่าย การขนส่ง การใช้ การเก็บรักษาและการกำจัดกากทั้งนี้เนื่องจากในปัจจุบันการนำเข้าสารอันตรายบางชนิดยังไม่มีการควบคุมไม่มีชื่อสามัญกำกับ ขากมาตรฐานและเกณฑ์ปฏิบัติในการขนส่ง ขาดระบบการติดตามการขนส่ง ขาดการพิจารณากลั่นกรองเทคโนโลยีในนกระบวนการผลิตไม่มีการควบคุมสารอันตรายในระบบการผลิต ขาดการควบคุมดูแลผู้จำหน่ายรวมทั้งแผนปฏิบัติการฉุกเฉินในกรณีเกิดอุบัติภัยจากสารอันตรายยังไม่ครอบคลุมพื้นที่ ที่มีความเสี่ยงและการปฏิบัติตามแผนก็ยังไม่มีประสิทธิภาพ ประการสำคัญ การให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพิษภัยของสารอันตรายยังไม่ครอบคลุมทั่วถึง และเจ้าสถานประกอบการขาดความรับผิดชอบในการดูแลและป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554

ระวังสารเคมีในเครื่องสําอาง!

เครื่องสําอางเป็นเพื่อนคู่ใจที่ช่วยให้สาวๆทั้งหลายดูสวยดึงดูดใจมากขึ้น แต่รู้ไหมว่ามีสารเคมีหลายชนิดที่หากใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสําอางค์ก็จะก่อพิษให้ร่างกาย ได้แก่

MINERAL OIL (Petrolatum) : สารจากการสกัดนํ้ามันปิโตรเลียม ใช้เพื่อรักษาความชุ่มชื้น แต่อาจอุดตันรูขุมขนจนเกิดสิวได้

PROPYLENE GLYCOL : ใช้ป้องกันการจับเป็นก้อนแข็งในมอยส์เจอร์ไรเซอร์บางยี่ห้อ มีผลเสียต่อระบบประสาทส่วนกลางและเป็นสารตั้งต้นสารก่อมะเร็ง

TRIETHANOLAMINE (TEA) : ใช้ปรับค่าสมดุลกรดด่างในผลิตภัณฑ์เพื่อผิวกาย ซึ่งหากมีมากก็จะระคายเคือง และมีผลต่อพัฒนาการทางสมองของทารกในครรภ์

ISOPROPYL MYRISTATE (IPM) : ใช้เคลือบผิวรักษาความชุ่มชื่น อาจอุดตันรูขุมขนได้

POLYETHYLENE: เป็นเม็ดพลาสติกใช้ในการสครับขัดผิว แม้ไม่ซึมผ่านผิวหนังได้ แต่ก็อาจระคายเคืองผิว

IMIDAZOLIDINYL1 AND DIAZOLIDDINYL1 UREA: สารกันเสียในเครื่องสําอาง การสลายตัวทําให้เกิดฟอร์มาลดีไฮด์ (formaldehyde) มีผลต่อผิวหนังและระบบหายใจ เป็นสารก่อมะเร็งชนิดหนึ่ง

PARABEN: สารกันเสียในผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่น ใช้ในผลิตภัณฑ์หลายประเภทจึงง่ายต่อการสะสมในร่างกาย หากปริมาณมากจะขัดขวางการทํางานของต่อมไร้ท่อ

SODIUM LAURETH SULFATE (SLES): พบในแชมพูและเจลอาบนํ้า ใช้เพื่อให้เกิดฟองและลดแรงตึงผิว อาจทําให้เส้นผมและผิวอ่อนแอลง

ARTIFICIAL COLORS: สีที่ใช้เติมแต่งผลิตภัณฑ์ ซึ่งหากมีส่วนผสมของสารหนูและสารตะกั่วก็จะเป็นสารก่อมะเร็งได้

SILICONE: สารคล้ายยาง มีความยืดหยุ่นสูง นิยมใช้อย่างแพร่หลายในผลิตภัณฑ์ เช่น ครีมนวดผม อาจสะสมในตับและต่อมนํ้าเหลืองได้

PETROLEUM DERIVATIVE: สารจากการแยกนํ้ามันปิโตรเลียม ใช้เพื่อกักเก็บความชื้นของผิว อาจทําให้ผิวระคายเคือง อุดตัน เกิดเป็นสิว

SYNTHETIC POLYMER: สารโพลีเมอร์ที่ใช้เจลแต่งผมหรือครีมนวดผมบางยี่ห้อ ซึ่งหากเป็นสารที่ได้จากพืชก็จะเป็นมิตรกับร่างกายมากกว่าสารจากพลาสติกสังเคราะห์

POLYETHYLENE GLYCOL : ใช้เพิ่มความชุ่มชื้นในครีมทําความสะอาดและบํารุงผิว ซึ่งสถาบันเผยแพร่ข้อมูลด้านความปลอดภัยของวัตถุในสหรัฐอเมริกา ได้ออกคําเดือนว่าระคายเคืองต่อผิวสูง ทั้งอาจเป็นสาเหตุความผิดปกติของตับและไต และอาจเป็นสาเหตุของมะเร็งตับและจมูก

QUATS: สารชะล้างที่ใช้ผสมในผลิตภัณฑ์ เช่น นํ้ายาล้างพื้น หากนํามาผสมในแชมพูหรือเจลอาบนํ้าก็จะทําให้เกิดผดผื่นและทําลายระบบหายใจ

ดังนั้นเวลาที่เลือกซื้อเครื่องสําอางก็ควรอ่านฉลากที่ระบุส่วนผสมดูก่อนว่าสารเหล่านี้เป็นส่วนผสมหรือไม่ ซึ่งส่วนผสมเหล่านี้มักจะเรียงจากปริมาณมากที่สุดไปถึงน้องที่สุดตามลําดับในฉลาก ควรสวยแบบปลอดสารเคมี เพื่อให้ผิวได้พักผ่อนบ้างก็น่าจะได้

อันตรายจากสารเคมี

การเก็บสารเคมีให้ถูกต้อง

การเก็บสารเคมีให้ถูกต้อง

            เป็นที่ทราบกันแล้วว่าสารเคมีถูกจำแนกออกเป็น 9 ประเภท ซึ่งในแต่ละประเภท
มีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน สารเคมีบางชนิดมีอันตรายเนื่องจากคุณสมบัติของสารนั้นเอง ในขณะที่สารบางอย่างเมื่อยู่ตามลำพังไม่มีพิษภัยใดๆ แต่เมื่อปนอยู่กับสารเคมีอื่นๆจะทำให้เกิดอันตราย
ขึ้นได้ การจัดเก็บสารเคมีมากมายหลายวิธี วิธีที่สะดวกและมีผู้ใช้กันมากที่สุดคือ เรียงตามตัวอักษร แต่การจัดแบบดังกล่าวอาจทำให้สารที่ไม่ควรอยู่ใกล้กันมาเก็บไว้ด้วยกัน ซึ่งอาจเกิดระเบิดหรือปล่อยก๊าซพิษออกมาเมื่อไรก็ได้ ดังนั้นวิธีเก็บสารเคมีโดยรียงตามลำดับตัวอักษร จึงไม่ใช่วิธีการเก็บสารเคมีที่ปลอดภัย อีกวิธีหนึ่งคือ การจัดสารเคมีที่ดับเพลิงโดยวิธีเดียวกันไว้ด้วยกัน
เพื่อสะดวกในการใช้เครื่องดับเพลิงเวลาเกิดไฟไหม้ แต่ก็เช่นเดียวกันกับแบบแรกคือจะทำให้สาร
ที่เข้ากันไม่ได้มาอยู่ใกล้กัน
             วิธีที่ดีที่สุด คือการจัดกลุ่มสารเคมีตามความว่องไวต่อปฏิกิริยา และกำหนดให้สารที่เข้ากันไม่ได้ วางแยกเก็บให้ห่างจากกันอย่างเด็ดขาด สารเคมีหลายพันชนิดที่ใช้กันอยู่อาจแบ่งได้เป็น
6 กลุ่มคือ
- สารไวไฟ (flammable chemicals)
- สารระเบิดได้ (explosive chemicals)
- สารเป็นพิษ (toxic chemicals)
- สารกัดกร่อน (corrosive chemicals)
- สารกัมมันตรังสี (radioactive chemicals)
- สารที่เข้าไม่ได้ (incompatible chemicals)

          ปกติแล้วการเก็บสารเคมีทุกชนิด จะมีหลักการทั่วๆไป ดังนี้
1. สถานที่เก็บสารควรเป็นสถานที่ปิดมิดชิด อยู่ภายนอกอาคาร ฝาผนังควรทำด้วยสารทนไฟ (กันไฟ) ปิดล็อคได้ และมีป้ายบอกอย่างชัดเจนว่า “สถานที่เก็บสารเคมี”
2. ภายในสถานที่เก็บสารเคมี ควรมีอากาศเย็นและแห้ง มีระบบถ่ายเทอากาศที่ดี และแดดส่องไม่ถึง
3. ชั้นวางสารเคมีภายในสถานที่เก็บสารเคมีต้องมั่นคง แข็งแรง ไม่มีการสั่นสะเทือน
4. ภาชนะที่บรรจุสารเคมี ต้องมีป้ายชื่อที่ทนทานคิดอยู่พร้อมทั้งบอกอันตรายและข้อควรระวังต่างๆ
5. ภาชนะที่ใส่ต้องทนทานต่อความดัน การสึกกร่อนและแรงกระแทกจากภายนอก ควรมีภาชนะสำรอง ในกรณีที่เกิดการแตกหรือภาชนะรั่วจะได้เปลี่ยนได้ทันที
6. ภาชนะเก็บสารที่ใหญ่และหนักไม่ควรเก็บในที่สูง เพื่อจะได้สะดวกในการหยิบใช้
7. ขวดไม่ควรวางบนพื้นโดยตรง หรือไม่ควรวางช้อนบนขวดอื่นๆ และมีระยะห่างกัน
พอสมควรระหว่างชั้นที่เก็บสาร ไม่ควรวางสารตรงทางแคบ หรือใกล้ประตูหรือหน้าต่าง
8. ควรเก็บสารตามลำดับการเข้ามาก่อนหลัง และต้องใช้ก่อนหมดอายุ ถ้าหมดอายุแล้ว
ต้องทำลายทันที ห้ามใช้โดยเด็ดขาด
9. ควรแยกเก็บสารเคมีในปริมาณน้อยๆ โดยใช้ภาชนะบรรจุขนาดเล็ก บริเวณที่เก็บสาร
ควรรักษาความสะอาดและให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยอย่างสม่ำเสมอ และมีการจัดเรียงอย่าง
มีระบบ
10. ต้องมีอุปกรณ์ดับเพลิง อุปกรณ์ป้องกันภัย และเครื่องปฐมพยาบาลพร้อมในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน

โดยทั่วไป เมื่อทราบคุณสมบัติของสารแล้วก็สามารถกำหนดได้ว่าจะเป็นสารอย่างไร
ตัวอย่างเช่น ของเหลวที่มีจุดเยือกแข็งต่ำๆ จะต้องเก็บที่อุณหภูมิสูงกว่านั้น เพราะเมื่อสารนั้น
แข็งตัว ปริมาตรจะเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจจะทำให้ขวดแตกได้ และที่อันตรายมากคือสารบางประเภท
ต้องใช้ตัวยับยั้ง (inhibitor) ใส่ไว้เพื่อป้องกันไม่ให้สารนั้นระเบิด ถ้าสารแข็งตัวแยกตัวจากตัวยับยั้งมาเป็นสารบริสุทธิ์ เมื่อสารนั้นหลอมเหลวอีกครั้งหนึ่งจะเกิดระเบิดได้ เช่น acrylic acid
นอกจากการพิจารณาเก็บสารเคมีตามความไวในปฏิกิริยาแล้ว ยังต้องพิจารณาถึงการ
เข้ากันไม่ได้ของสารเคมี เช่น galcial acetic acid เป็นสารเคมีที่จุดติดไฟและระเบิดได้เมื่อถูกสัมผัสกับ oxidizing acid เช่น nitric acid, perchloric acid หรือ sulfuric acid เข้มข้น
เพราะฉะนั้นควรเก็บ acetic acid ให้ห่างจาก oxidizers ไม่ใช่กรดเหมือนกันจะเก็บด้วยกันได้
มีสารเคมีหลายประเภทที่เราต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ ได้แก่ กรด (acid) ด่าง (bases)
สารไวไฟ (flammables) ออกซิไดส์เซอร์ (oxidizers) สารที่ไวต่อน้ำ (water reactive chemicals)
สารไพโรฟอริก (pyrophoric substances) สารที่ไวต่อแสง (light-sensitive chemicals) สารที่จะเกิดเปอร์ออกไซด์ได้ (peroxidizable compounds) และสารเป็นพิษ (toxic compounds) เป็นต้น
สารแต่ละประเภทมีวิธีการเก็บอย่างปลอดภัยตามคุณสมบัติของสารประเภทนั้น

วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ซ็อมแผนรับมือสารเคมีอันตรายรั่วไหล


กรมโรงงานฯตื่น ไล่บี้เคมีมหาภัย

กรณีเอ็นจีโอร่วมมือกับชาวมาบตาพุด จ.ระยองยื่นฟ้องศาลปกครองกลางเพิกถอนมติ ครม. ที่อนุญาตให้ดำเนินการอุตสาหกรรมบางประเภทที่เข้าข่ายเป็นกิจการรุนแรง ถือเป็นอีกบทเรียนราคาแพงที่อุตสาหกรรมไทยไม่ควรลืม

ยอมรับกันเสียที เมื่อเทียบกับอีกหลายประเทศ ที่ผ่านมาเมืองไทยยังอ่อนหัดเอามากๆกับเรื่อง เทคโนโลยีความปลอดภัยในอุตสาหกรรม

ไม่ ว่าจะเป็นวิธีจัดการกับสารเคมีอันตรายสูง ซึ่งมีใช้กันเกลื่อนในโรงงานหลายพันแห่ง รูปแบบการขนถ่าย ขนส่ง วิธีแก้ปัญหาเมื่อสารเคมีอันตรายเกิดการรั่วไหล มาตรการกำจัดสารพิษที่ภาคอุตสาหกรรมปล่อยสู่สาธารณะ หรือแม้ แต่การทำให้ชาวบ้านรอบโรงงานรู้สึกว่า ตัวเองปลอดภัยจากอุตสาหกรรมที่อยู่รายรอบพวกเขา

ปัญหาเหล่านี้ นับว่าอุตสาหกรรมไทยยังอ่อนหัดต่อโลก

วัน ก่อน สำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม จึงได้จัดอบรมขนานใหญ่ให้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรม เพื่อหวังให้สามารถจัดการกับสารเคมีอันตรายสูงซึ่งมีใช้กันเกลื่อนตามโรงงาน อย่างถูกต้อง โดยจัดขึ้นที่โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค

อุฤทธิ์ ศรีหนองโคตร รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ประธานการอบรม เปิดประเด็นว่า เวลานี้เมืองไทยมีการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างก้าวกระโดด ทำให้โรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งเร่งพัฒนาตัวเองให้สามารถแข่งขันกับนานา ประเทศให้ได้

แต่สิ่งที่เป็นปัญหาตามมาเสมือนเงาตามตัวก็คือ น้ำเสีย มลพิษในอากาศ และกากอุตสาหกรรม ดังเช่นที่เคยเป็นข่าวใหญ่ กรณีแก๊สหรือสารเคมีรั่วไหล ที่มาบตาพุด จ.ระยอง และตามที่ต่างๆ

"เมื่อ ก่อนพอรู้ว่าจะมีใครไปตั้งโรงงานอุตสาหกรรม ชาวบ้านละแวกนั้น มักดีใจจนเนื้อเต้น เพราะพอเดาได้ว่า อีกไม่นานจะเกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชน ผิดกับเดี๋ยวนี้แค่รู้ข่าวว่าจะมีใครมาตั้งโรงงานแถวใกล้บ้าน ชาวบ้านพากันหวาดผวา รวมตัวต่อต้านกันไว้ก่อน เพราะไม่ไว้ใจ ว่าอุตสาหกรรมเหล่านั้น จะนำพิษภัยมาให้หรือเปล่า"

รองอธิบดีกรม โรงงานอุตสาหกรรม บอกว่า ดังนั้น สิ่งแรกที่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยุคนี้ต้องตระหนักก็คือ ทำอย่างไรจึงจะให้ชุมชนเกิดความเชื่อมั่นว่า สารเคมีที่ท่านใช้ในกระบวนการผลิตมีความปลอดภัยแค่ไหน มีมาตรการจัดเก็บและกำจัดยามเมื่อเกิดเหตุรั่วไหลอย่างไร เป็นต้น

โดย เฉพาะการบริหารจัดการกับสารเคมีที่มีอันตรายร้ายแรง เป็นเรื่องที่จำเป็นมาก หากเจ้าของอุตสาหกรรมสามารถทำให้ชาวบ้านเกิดความมั่นใจได้ทั้งระบบ ชุมชนจึงจะเกิดความเชื่อมั่นต่อภาคอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมจึงจะอยู่คู่กับชุมชนได้อย่างยั่งยืน

รองฯอุฤทธิ์บอกว่า ในปี 2553 กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้จัดทำคู่มือการจัดการกับสารเคมีอันตรายสูง 3 ตัวแรก ซึ่งเป็นที่นิยมใช้ในภาคอุตสาหกรรมไทย

ได้แก่ แอมโมเนีย กรดซัลฟูริก และ ฟอร์มาลดีไฮด์ โดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ 2 คน คือ นายมงคล พันธุมโกมล และ นายกฤตพัฒน์ จุ้ยเตย เป็นวิทยากรให้ความรู้

แอมโมเนีย ซึ่งเป็นสารเคมีอันตรายสูงตัวแรก ปัจจุบันมีการนำเข้ามาใช้ในประเทศไทยมากถึงปีละประมาณ 3 แสนตัน สารเคมีชนิดนี้ถูกนำไปใช้ ประโยชน์ในอุตสาหกรรมผลิตไนลอนมากที่สุดถึง 46%

นำ ไปใช้ในกระบวนการผลิตผงชูรสราว 18% นำไปเป็นส่วนผสมในน้ำยางข้น เพื่อไม่ให้น้ำยางแข็งตัว และใช้ผลิตถุงมือยางอีกราว 15% ใช้ในรูปของสารเคมี 12% ใช้ในอุตสาหกรรมห้องเย็นและโรงน้ำแข็ง 3% และใช้ในอุตสาหกรรมฟอกย้อม 1%

ที่ผ่านมาอุบัติเหตุจากสารแอมโมเนีย รั่วไหลในเมืองไทย ส่วนใหญ่เกิดขึ้นตามโรงงานห้องเย็น และโรงผลิตน้ำแข็ง โดยสาเหตุหลักของการรั่วไหล มักเกิดจากอุปกรณ์ชำรุด และความผิดพลาดในการปฏิบัติงาน

แอมโมเนียซึ่งมีสถานะเป็นก๊าซไวไฟ เมื่อบรรจุภายใต้ความดันทำให้เกิดการระเบิดได้หากได้รับความร้อน นอกจากนี้ ยังเป็นอันตรายเมื่อสูดดมเข้าไป อาจทำให้เกิดอาการแพ้หรือหอบหืด หายใจลำบาก เมื่อร่างกายสัมผัสอาจทำให้ ผิวหนังไหม้อย่างรุนแรง และยังเป็นพิษร้ายแรงต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ

ดังนั้น ข้อพึงระวังสารเคมีชนิดนี้ต้องใช้งานในสถานที่ซึ่งมีการเปิดระบายอากาศได้ดี และห้ามปล่อยน้ำซึ่งเจือปนแอมโมเนียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะโดยเด็ดขาด

วัสดุ ที่ปนเปื้อนสารแอมโมเนีย รวมทั้งน้ำที่ใช้ล้างและน้ำจากการระงับเหตุสารแอมโมเนียรั่วไหล จะต้องทำให้มีสภาพเป็นกลางเสียก่อน เช่น ใช้กรดเกลือชนิดเข้มข้น 5% นำมาผสม ก่อนระบายลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ

หรือกรณีน้ำมันหล่อลื่นที่ถ่ายออก จากระบบทำความเย็น ซึ่งมีสารแอมโมเนียปนเปื้อน ต้องส่งไปกำจัดโดยผู้ที่ได้รับอนุญาต และใช้วิธีการกำจัดที่ถูกต้องเท่านั้น

กรดซัลฟูริก เป็นสารเคมีอันตรายสูงอีกตัว ที่ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง

หาก ยังจำกันได้เมื่อ 10 ปีก่อน มีข่าวใหญ่กรณีผู้เสียชีวิต 1 ราย และบาดเจ็บสาหัสอีก 2 ราย จากอุบัติเหตุกรดซัลฟูริกรั่วไหลออกจากแท็งก์บนรถบรรทุก ที่ จ.สมุทรสาคร เนื่องจากมีก๊าซไฮโดรเจนสะสมอยู่ในแท็งก์ โดยประกายไฟจากการเชื่อมเพื่อซ่อมรอยรั่วของแท็งก์บรรจุกรดซัลฟูริกทำให้ เกิดแรงระเบิดมหาศาล

ทุกวันนี้กรดซัลฟูริกถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมไทย อย่างกว้างขวาง เช่น ใช้ในกระบวนการผลิตไนลอน 19% ใช้ในอุตสาหกรรมเรยอน 17% ใช้ผลิตสารส้ม 14% ผลิตผงชูรส 13% ใช้สกัดแร่ 9% ผลิตแบตเตอรี่ 2% และใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี 2% เป็นต้น

ข้อพึงระวังในการใช้กรดชนิด นี้ นอกจากห้ามหายใจเอาละอองไอของสารเคมีตัวนี้เข้าไป เพราะอาจเป็นอันตรายถึงตายได้ ขณะทำงานต้องสวมชุดและอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลไว้เสมอ

และสิ่งที่ต้องจำให้ขึ้นใจก็คือ กรดชนิดนี้เมื่อกัดกร่อนโลหะ จะทำให้เกิด ก๊าซไฮโดรเจน ซึ่งเป็นสารไวไฟ

กรณี ช่างเชื่อมแท็งก์ซึ่งบรรจุกรดซัลฟูริก 1 รายตายคาที่ อีก 2 รายบาดเจ็บสาหัส ที่ จ.สมุทรสาคร เป็นข่าวใหญ่เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ล้วนตายและบาดเจ็บจากสาเหตุนี้นั่นเอง


การกำจัดสารเคมีร้ายแรงชนิดนี้ จึงห้ามทิ้งลงสู่แหล่งน้ำหรือดินโดยตรง เพราะเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ และทำให้ค่าความเป็นกรด-ด่างในดินเปลี่ยนแปลง

อีกประเด็นที่ต้อง ตระหนักให้มากก็คือ ของเสียส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นจากการใช้กรดซัลฟูริก มีคุณสมบัติเป็นกรด จึงต้องปรับให้มีสภาพเป็นกลางด้วยด่าง โดยใช้ปูนขาวหรือหินปูนมาช่วยปรับสภาพ ก่อนที่จะนำของเสียเหล่านั้นไปทำการฝังกลบตามกฎหมาย

ฟอร์มาลดีไฮด์ และ ฟอร์มาลิน เปรียบเสมือนดาวร้ายที่แฝงมาในคราบพระเอกอีกตัวในแวดวงอุตสาหกรรมไทย

เนื่องจาก มีการนำไปใช้ประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรมอย่างกว้างขวาง โดยปริมาณมากถึง 70% ถูกนำไปใช้ในรูปของยูเรียฟอร์มาลดีไฮด์ เพื่อผลิตเป็นพาติเกิลบอร์ด และสารเคลือบต่างๆ

14% ถูกนำไปใช้ในรูปโพลีอะซีทัล เพื่อผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า

นอกจาก นี้ ยังถูกนำไปใช้ในกระบวนการผลิตฉนวนกันความร้อน ผ้าเบรกรถยนต์ ใบเจีย ใบตัด ทรายทำแบบหล่อ ถ้วยชาม สารเคลือบเมลามีน สารฆ่าเชื้อ สารกันเสีย ยาฆ่าแมลง รวมทั้งใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ

เนื่องจากสารเคมีชนิดนี้ เป็นของเหลวไวไฟ จึงเป็นอันตรายเมื่อกลืนกิน เป็นพิษเมื่อสัมผัสผิวหนัง และเป็นอันตรายถึงตายได้เมื่อสูดดมเอาไอเข้าไปเป็นปริมาณมาก

รายงานวิจัยล่าสุด ยังมีข้อสงสัยว่า สารเคมีร้ายแรงชนิดนี้อาจทำให้เกิดความผิดปกติต่อพันธุกรรม และทำให้เกิดโรคมะเร็ง

ดัง นั้น เมื่อฟอร์มาลดีไฮด์และฟอร์มาลินเกิดการรั่วไหล ผู้เข้าไปกู้ สถานการณ์จำเป็นต้องสวมอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยที่เหมาะสม และกันผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องออกจากบริเวณ โดยอพยพผู้คนออกไปทางเหนือลม และใช้น้ำฉีดเป็นฝอยเพื่อดักกลุ่มไอระเหย

มาตรการกำจัดของเสีย โรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้สารชนิดนี้ต้องละลายของเสียจากฟอร์มาลินด้วยน้ำ ปริมาณมาก และเติมสารละลายไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 50% ลงไปก่อนที่จะนำไปเข้าระบบบำบัดน้ำเสียอีกชั้น

สำหรับกากของเสียซึ่ง เป็นของแข็ง ห้ามใช้วิธีฝังกลบเพราะสลายตัวยาก วิธีการที่ถูกต้องจะต้องนำส่งให้ผู้ประกอบการซึ่งได้รับอนุญาตเป็นผู้นำไป กำจัดด้วยวิธีเผาที่อุณหภูมิสูงเท่านั้น

แม้ทุกรัฐบาลต้องการนำพา ประเทศให้เติบโตอย่างถาวร โดยใช้ อุตสาหกรรมเป็นตัวขับเคลื่อน แต่การบ้านข้อแรกที่ต้องไม่ลืมก็คือ จะจัดการอย่างไรกับพิษภัยที่ตามมาจากอุตสาหกรรม

อันตรายจากสารเคมีกับทางอากาศที่ดีเพื่อสุขภาพ


สารเคมีและวัตถุอันตรายในอุตสาหกรรม : รู้เร็วตายช้า รู้ช้าตายเร็ว

ผลสำเร็จจากการพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7

ผลักดันให้เศรษฐกิจของประเทศ ขยายตัวเพิ่ม ขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 8.2 ต่อปี โดยมีรายได้

เฉลี่ยต่อหัวของประชากรในปี พ.ศ.2537 ประมาณ 60,000 บาท ฐานะทางเศรษฐกิจการ

เงินของ ประเทศอยู่ในเกณฑ์ดี มีเสถียรภาพ สัดส่วนคนยากจนต่อประชากรทั้งประเทศลด

ลงจากร้อยละ 26.3 ในปี พ.ศ.2529 เหลือร้อยละ 13.7 ในปี พ.ศ.2535 และปัจจุบัน

ธนาคารโลก ได้ประกาศให้ประเทศไทย หลุดพ้นจาการเป็น ประเทศยากจนแล้ว จาก

ข้อมูลตัวเลขดังกล่าว ทำให้เราสามารถมองภาพรวมของการพัฒนาประเทศไทย เป็นภาพ

ที่ประสบผลสำเร็จ และบรรลุเป้าหมาย ในการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างดียิ่ง แต่เบื้อง

หลังตัวเลขความสำเร็จที่สวยหรูนี้ ได้ซ่อนบาด แผลแห่ง การพัฒนาให้เกิดขึ้นกับสังคม

และสิ่งแวดล้อมนานับประการ อาทิเช่น สภาพสังคมมีความสับสนและมีความเป็นวัตถุนิยม

มากขึ้น ช่องว่างของการกระจายรายได้ของประชากรทั้งประเทศยัง มีแนวโน้มสูง ทรัพยากร

ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมถูกทำลายลงไป ตลอดเวลา สาเหตุต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนแต่ทำให้

คุณภาพชีวิตของคนไทยในสังคมเสื่อม โทรมลงไปเป็นลำดับ

          จากนโยบายขยายภาคการผลิต โดยยึดหลักการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและ

เทคโนโลยีเป็นฐาน แต่มิได้คำนึงถึงแนวทางการ อนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ การป้องกัน

ปัญหามลพิษและขาดหลักการกำจัดกากของเสียที่ถูกต้อง ส่งผลให้มีการนำเข้าสารเคมี

ทั้งในภาค เกษตรกรรมและอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมาก โดยขาดการป้องกันผลกระทบทาง

ด้านสิ่งแวดล้อม คิดโดยเฉลี่ยรายปี เป็นสารเคมีประเภทสารอนินทรีย์ประมาณ 270,000

ตัน และสารอินทรีย์ประมาณ 300,000 ตัน การใช้สารเคมีดังกล่าวยังไม่ถูก ต้องตรงตาม

หลักวิชา เนื่องจากผู้ใช้และผู้รับผิดชอบยังขาดความรู้ ความเข้าใจ และขาดการจัดการที่ดี

เป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติภัย และสารพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้เกิดอันตรายต่อ

มนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ตลอดจนเป็นปัญหาต่อการส่งออกผลิตภัณฑ์ไป จำหน่ายยังตลาด

โลก เมื่อเป็นเช่นนี้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสารเคมีและวัตถุมีพิษ จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่าง

ยิ่งที่ผู้ประกอบการและ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายจะต้องให้ความสนใจใฝ่รู้ และระมัดระวัง

เป็นพิเศษ เพราะสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ล้วนส่งผลกระทบอย่างร้ายแรง ทั้งทางตรงและทางอ้อม

ต่อสิ่งมีชีวิต นับจากปัจจุบันสู่อนาคตและมนุษย์ ไม่สามารถจะปฏิเสธ หรือหลีกเลี่ยงความ

รับผิดชอบ เหล่านี้ได้เลย

 สถิติตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับจำนวนโรงงาน อุตสาหกรรมได้ระบุ ไว้ว่า ในปี พ.ศ. 2538

ประเทศไทยมีจำนวนโรงงาน อุตสาหกรรม กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคเป็นจำนวนทั้งสิ้น

103,545 โรง ตามนโยบายการพัฒนาประเทศจากประเทศเกษตรกรรม สู่ความเป็น

ประเทศ อุตสาหกรรม ทำให้การนำเข้าสารเคมีและวัตถุอันตรายจากต่างประเทศมีแนวโน้ม

ขยายตัวในอัตราเร่งที่สูงมาก มีการประมาณว่าใน พ.ศ. 2543 ประเภทของอุตสาหกรรม

ที่จะเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมเส้นใยเทียม การผลิตสารกึ่งตัวนำ พลาสติก การผลิต

เหล็กกล้า การผลิตเยื่อไม้ และกระดาษ รวมทั้งอุตสาหกรรมเครื่องหนัง ซึ่งอุตสาหกรรม

ต่าง ๆ เหล่านี้จะชักนำให้ ปริมาณการใช้สารเคมีและวัตถุ อันตรายของประเทศเพิ่มสูงขึ้น

อย่างน่าสะพรึงกลัว โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตสารกึ่งตัวนำ ซึ่งมีการเคลื่อนย้าย

แหล่งผลิตภัณฑ์ อิเล็กทรอนิกส์ สำหรับใช้เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์จากประเทศกำลัง

พัฒนามากขึ้น เนื่องจาก ประเทศที่พัฒนาแล้วกำลังประสบปัญหา พิษภัยจากสารเคมีและ

วัตถุอันตราย รวมทั้งแรงงานในประเทศต่าง ๆ เหล่านั้น เกิดโรค จากการทำงาน

( Occupational Disease ) ที่ร้ายแรงเพิ่มมากขึ้นทุกขณะ
          หลักฐานที่ชี้ชัดอีกประการหนึ่งถึงการเพิ่มขึ้นของสารเคมีและวัตถุอันตราย

คือ กากของเสียอันตราย ( Harzadous wastes ) ที่ถูกปล่อยออกมาทำอันตรายต่อ

สิ่งแวดล้อม ซึ่งจากการประมาณการณ์พบว่า ปริมาณของเสียอันตรายส่วนใหญ่ มาจาก

แหล่งกำเนิด ทาง อุตสาหกรรมการผลิต ( ตารางที่ 1 ) และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ตามการ

พัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม สิ่งที่น่าจับตามองอีกอย่าง ก็คือ การกระจุกตัวของโรง

งานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการชุบ การกลึง การซ่อมอุปกรณ์ขนส่ง และอุตสาหกรรม

เคมี ในเขต กรุงเทพ มหานครและปริมณฑล ซึ่งมีจำนวนถึง 9,970 โรง และมีการจัดจ้าง

คนงานเข้ามา ทำงานในระบบถึงร้อยละ 80 ของคนงาน ทั้งประเทศ ดังนั้น ถ้าใช้ตัวเลข

ข้อมูลดังกล่าวเป็นฐานการพิจารณาแล้วมองย้อนกลับขึ้นไป สิ่งที่พอจะกระทำให้เรามอง

เห็นภาพก็คือ การที่จะทำ ให้ปัญหาที่เกิด จากสารเคมีและวัตถุอันตรายจากอุตสาหกรรม

ลดระดับความรุนแรงลงได้ จะต้งอเริ่มจากการ ให้ความรู้ และแนวทาง ปฎิบัติที่ถูกต้องกับ

บุคลากรและผู้เกี่ยวข้องในแวดวงอุตสาหกรรมเป็นอันดับแรก โดยเฉพาะใน พื้นที่ที่ต้อง

เผชิญ ความเสี่ยงจาก ความเสียหายถ้าเกิดอุบัติภัย เช่น ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

รวมทั้งพื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรม ทุกแห่ง ของประเทศ

วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สารเคมี
           สารเคมี คือวัสดุใดๆ ที่สามารถระบุองค์ประกอบทางเคมีที่แน่นอนได้ เช่น น้ำบริสุทธิ์(H2O) ประกอบด้วยธาตุ ไฮโดรเจน(H) 2 อะตอม และออกซิเจน(O) 1 อะตอม รวมตัวกัน หรือเกลือโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) ก็ประกอบด้วยธาตุ Na และ Cl อย่างละ 1 อะตอม
สารเคมี ในความหมายกว้างๆ สารเคมีหมายถึงสารอนินทรีย์ หรือสารอินทรีย์ที่มีสามารถระบุโมเลกุลของสารได้ อาจปรากฏอยู่ในธรรมชาติ หรือถูกสังเคราะห์ขึ้นจากปฏิกิริยาต่างๆ ก็ได้
           โดยทั่วไปแล้ว สารเคมีจะมีสถานะอยู่ 3 สถานะเช่นเดียวกันกับสสาร ได้แก่ ของแข็ง ของเหลว และก๊าซ หรือ พลาสมา สามารถเปลี่ยนสถานนะได้ เมื่อสภาวะหรือเงื่อนไขเปลี่ยนไป เช่น เปลี่ยนอุณหภูมิ ความดัน โดยใช้ปฏิกิริยาทางเคมี ก็สามารถเปลี่ยนจากสารเคมีหนึ่ง ไปเป็นสารเคมีตัวใหม่ได้ ส่วนพลังงาน เช่น แสง หรือความร้อน ไม่จัดอยู่ในรูปของสสาร จึงไม่อยู่ในกลุ่มของสารเคมีในคำจำกัดความนี้

             ธาตุ ก็มีความหมายถึงสารเคมีเหมือนกัน ไม่สามารถทำลายหรือเปลี่ยนรูปไปเป็นสารเคมีตัวอื่นๆ ด้วยการใช้ปฏิกิริยาทางเคมี แต่สามารถเปลี่ยนรูปโดยใช้ปฏิกิริยานิวเคลียร์ เนื่องจากอะตอมของธาตุแต่ละชนิดจะมีนิวตรอน โปรตอน และอิเล็คตรอน หากเปลี่ยนโดยการเพิ่มนิวตรอนของธาตุเดิม ก็จะได้ไอโซโทป(isotope) ของธาตุนั้นเกิดขึ้นใหม่ เป็นต้น ปัจจุบันมีการค้นพบธาตุเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อยู่ที่ประมาณ 120 ธาตุ มี 80 ธาตุที่มีความเสถียร ธาตุหลักๆ จัดอยู่ในกลุ่มของโลหะ เช่น ทองแดง(Cu) เหล็ก(Fe) ทองคำ(Au) ซึ่งมีคุณสมบัติ นำไฟฟ้า และนำความร้อนได้ดี ส่วนธาตุอโลหะ เช่น คาร์บอน(C) ไนโตรเจน(N) และออกซิเจน(O) จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างจะโลหะข้างต้น นอกจากนั้นยังมีธาตุในกลุ่มกึ่งโลหะ(metalloids) เช่น ซิลิกอน(Si) จะมีคุณสมบัติเป็นทั้งโลหะและอโลหะ
             สารประกอบ เกิดจากการรวมตัวกันของธาตุมากกว่า 2 อะตอมขึ้นไปในสัดส่วนที่คงที่ ซึ่งจะมีคุณสมบัติแตกต่างจากธาตุเริ่มต้น
             ของผสม ประกอบด้วยสารผสมกันตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป เช่น นม อากาศ ซีเมนต์ เครื่องดื่ม ซึ่งมีองค์ประกอบไม่คงที่ ขึ้นอยู่กับสภาวะต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น อากาศที่มีแตกต่างกัน ระหว่างบริเวณชานเมือง และในตัวเมือง ของผสมแบ่งย่อยได้อีก 2 ประเภท คือ ของผสมเนื้อเดียว (ทุกส่วนละลายเป็นเนื้อเดียวกันทั้งหมด) และของผสมเนื้อผสม (ทุกส่วนไม่ละลายเป็นเนื้อเดียวกันทั้งหมด)

แก็ก สารเคมี

                       
              
                     หลักในการควบคุมและป้องกันอันตราย จากสารเคมี        แหล่งกำเนิดของสารเคมี
               ใช้สารที่มีพิษน้อยกว่าแทน
  • เปลี่ยนกระบวนการผลิตใหม่ เช่น ใช้ระบบเปียกแทนระบบแห้ง เพื่อมิให้เกิดฝุ่นฟุ้งกระจาย
  • แยกกระบวนการผลิตที่มีอันตรายออกต่างหาก
  • สร้างที่ปกปิดกระบวนการผลิตให้มิดชิด มิให้สารเคมีฟุ้งกระจายออกไป
  • ติดตั้งระบบดูดอากาศเฉพาะที่
  • การบำรุงรักษา เครื่องมือ เครื่องจักร
       ทางผ่านของสารเคมี
  • การบำรุงรักษาสถานที่ทำงานให้สะอาดเรียบร้อย
  • การติดตั้งระบบระบายอากาศทั่วไป
  • เพิ่มระยะทางให้ผู้ปฏิบัติห่างจากแหล่งสารเคมี
  • การตรวจหาปริมาณสารเคมีเทียบกับค่ามาตรฐานความปลอดภัยจะต้องปรับปรุง แก้ไขหากสูงเกินกว่าค่ามาตรฐานความปลอดภัย
       ผู้ปฏิบัติงาน
  • การให้การศึกษาและการฝึกอบรมให้ทราบถึงอันตรายและการป้องกัน
  • การลดชั่วโมงการทำงานที่เกี่ยวกับสารเคมีที่เป็นอันตรายให้น้อยลง
  • การหมุนเวียนหรือการสับเปลี่ยนหน้าที่การปฏิบัติงาน
  • การให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานอยู่ในห้องที่ควบคุมเป็นพิเศษ
  • การตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน
  • การใช้เครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
       การใช้สารเคมี
  • ต้องทราบถึงอันตรายของสารเคมีและวิธีการควบคุม
  • ต้องล้างมือทุกครั้งหลังปฏิบัติงานกับสารเคมี
  • สวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลเสมอ
  • ทำความสะอาดบริเวณทำงานทุกครั้งหลังเลิกงาน
  • ปิดฝาภาชนะให้แน่นทุกครั้งหลังเลิกใช้
  • อย่า! ใช้ปากดูดสารเคมีแทนลูกยาง
  • จัดเก็บสารเคมีไว้ในที่เย็น อากาศถ่ายเทดี ห่างแหล่งกำเนิดประกายไฟ
  • อย่า! ปฏิบัติงานตามลำพังหรือไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง
  • อย่า! ทดสอบโดยการสูดดมหรือกลืนกิน
หลักการปฐมพยาบาลเบื้องต้นผู้ได้รับสารเคมี มีดังต่อไปนี้
              1. ถ้าได้รับอันตรายจากสารเคมีโดยการรับประทาน                  1.1 ลดอัตราการดูดซึมและทำให้สารเคมีเจือจางลง โดยให้ผู้ป่วยรีบดื่มนม หรือไข่ดิบ หรือดื่มน้ำเปล่าทันที และในกรณีที่ผู้ได้รับสารเคมีกำลังชักหรือสลบ อย่าให้ดื่มอะไรทั้งสิ้น
                  1.2 ทำให้อาเจียน โดยใช้นิ้วแหย่แถวเพดานคอ หรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่นจัด ๆ (ผสมเกลือ 1ช้อนโต๊ะในน้ำ 1 แก้ว) หรือทั้งดื่มและล้วงคอ เพื่อให้อาเจียนเอาสารพิษออกมา
             ข้อควรระวังในการทำให้อาเจียน คือ อย่าพยายามทำให้อาเจียนถ้าผู้ได้รับสารเคมีมีอาการชักหรือสลบเพราะจะทำให้เศษอาหารทะลักเข้าไปในหลอดลมและเกิดการอักเสบของปอดได้ ในกรณีที่ดื่มกรด ด่าง หรือน้ำยาฟีนอล (ยาดับกลิ่น) ถ้าดื่มกรดให้ดื่มน้ำปูนใสเพื่อช่วยทำให้เป็นกลางแล้วให้ดื่มนม เพื่อลดการระคายเคืองก่อน แล้วจึงทำให้อาเจียน ถ้าดื่มด่างให้ดื่มน้ำผลไม้ เช่น น้ำส้ม หรือน้ำผสมน้ำส้มสายชู เล็กน้อย แล้วดื่มนมหรือไข่ตีก่อนทำให้อาเจียน
                  1.3 ให้ยาถ่าย เพื่อช่วยขับสารเป็นพิษออกจากลำไส้ ยาถ่ายที่เหมาะสมที่สุดได้แก่ โซเดียมซัลเฟต ดีเกลือ น้ำมันระหุ่ง
             ข้อควรระวังในการให้ยาถ่ายนั้น อย่าให้ในรายที่ดื่มสารที่มีฤทธิ์กัดกร่อน เช่น กรด หรือ ด่าง ถ้าจะให้ ยาถ่ายในรายดื่มกรด หรือด่างควรให้หลังจากที่ให้ดื่มนมหรือไข่ตี หรือสารที่จะไปทำให้กรดหรือด่าง เป็นกลางก่อน
              2. ถ้าได้รับอันตรายจากสารเคมีที่ผิวหนัง ให้ล้างผิวหนังในบริเวณที่ถูกสารเคมี โดยใช้น้ำสะอาดล้างให้มากที่สุด เพื่อทำให้เจือจางและ ขับออก ถ้าสารเคมีหกรดเสื้อผ้าให้รีบถอดเสื้อผ้าออกก่อน ห้ามใช้สารแก้พิษใด ๆ เทลงไปบนผิวหนัง เพราะอาจเกิดความร้อนจากปฏิกิริยาเคมีทำให้แผลกว้างและเจ็บมากขึ้น
              3. ถ้าได้รับอันตรายจากสารเคมีที่ตา ให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดให้มากที่สุดทันที โดยเปิดเปลือกตาขึ้นให้น้ำไหลผ่านตาอย่างน้อย15 นาที ป้ายขี้ผึ้งป้ายตา แล้วรีบนำส่งแพทย์โดยเร็วห้ามใช้สารเคมีแก้พิษใด ๆ ทั้งสิ้น
              4. ถ้าได้รับอันตรายจากสารเคมีในการสูดดม ให้ย้ายผู้ได้รับสารเคมีนั้นออกจากบรรยากาศของสารเคมี ไปที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ช่วยผายปอด หรือกระตุ้นการหายใจด้วยยาดมฉุน ๆ

สัญลักษณ์ที่บนภาชนะบรรจุสารเคมีและวัตถุอันตราย

สัญลักษณ์
ความหมาย
ความเสี่ยงอันตราย
img4.gif


วัตถุระเบิด

ระเบิดได้เมื่อถูกกระแทกเสียดสี หรือถูกความร้อนเช่น ทีเอ็นที ดินปืน ดอกไม้ไฟ


- รังสีความร้อน
- แรงอัดอากาศ
- สะเก็ดระเบิด
img5.gif


ก๊าซไวไฟ

ติดไฟง่ายเมื่อถูกประกายไฟ  ก๊าซหุงต้ม ก๊าซไฮโดรเจน ก๊าซมีเทน ก๊าซอะเซทีลีน


- รังสีความร้อน
- แรงอัดอากาศ
- สะเก็ดเศษชิ้นส่วนภาชนะบรรจุ
- อาจเกิดภาวะขาดออกซิเจน
img6.gif

ก๊าซไม่ไวไฟและไม่เป็นพิษ

ไม่ไวไฟ ไม่เป็นพิษ แต่อาจเกิดระเบิดได้ หากภาชนะบรรจุถูกกระแทกอย่างแรง หรือได้รับความร้อนสูงจากภายนอก เช่น ก๊าซออกซิเจน ก๊าซไนโตรเจนเหลว ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์


- เกิดบาดแผลเนื่องจากสัมผัสของเหลว เย็นจัด
- แรงอัดอากาศ
- สะเก็ดเศษชิ้นส่วนภาชนะบรรจุ
img7.gif


ก๊าซพิษ

อาจตายได้เมื่อสูดดม เช่น ก๊าซคลอรีน ก๊าซแอมโมเนีย ก๊าซไฮโดรเจนคลอไรด์


- เป็นพิษหรือกัดกร่อน
- แรงอัดอากาศ
- สะเก็ดชิ้นส่วนภาชนะบรรจุ
- อันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
img8.gif


ของเหลวไวไฟ

ลุกติดไฟง่ายเมื่อถูกประกายไฟ เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง  ทินเนอร์  อะซิโตน ไซลีน


- รังสีความร้อน
- สะเก็ดเศษชิ้นส่วนภาชนะบรรจุ
- อันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
img9.gif


ของแข็งไวไฟ

ลุกติดไฟง่าย เมื่อถูกเสียดสี  หรือได้รับความร้อนสูง ภายใน 45 วินาที เช่น ผงกำมะถัน ฟอสฟอรัสแดง ไม้ขีดไฟ


- อาจก่อให้เกิดการระเบิดของผงฝุ่นสารเคมี
- เมื่อลุกไหม้จะสลายตัวให้ก๊าซพิษ
img10.gif


วัตถุที่เกิดการลุกไหม้ได้เอง

ลุกไหม้ได้เองเมื่อสัมผัสกับอากาศภายใน 5 นาที เช่น ฟอสฟอรัสขาว ฟอสฟอรัสเหลือง โซเดียมซัลไฟด์


- เมื่อลุกไหม้จะสลายตัวให้ก๊าซพิษ
- เกิดการลุกไหม้อย่างรุนแรงและมีความร้อนสูง
img11.gif


วัตถุที่ถูกน้ำแล้วให้ก๊าซไวไฟ

ถูกน้ำแล้วให้ก๊าซไวไฟหรือลุกติดไฟได้เองเช่น แคลเซียมคาร์ไบต์ โซเดียม ลิเธียม แมกเนเซียม



- ทำปฏิกิริยารุนแรงกับน้ำ
img12.gif


วัตถุออกซิไดส์

ไม่ติดไฟ ไม่ระเบิด แต่ช่วยให้สารอื่นเกิดการลุกไหม้ได้ดีขึ้น เช่น ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ โปแตสเซียมคลอเรต  แอมโมเนียไนเตรท


- เมื่อทำปฏิกิริยากับสารอินทรีย์ อาจเกิด การระเบิดหรือลุกไหม้
- เมื่อได้รับความร้อนสูงอาจสลายตัวให้ก๊าซพิษ
img13.gif

ออร์แกนิคเปอร์ออกไซด์

อาจเกิดระเบิดได้เมื่อถูกความร้อน เสียดสี หรือถูกกระแทกอย่างรุนแรง และสามารถทำปฏิกิริยารุนแรงกับสารอื่น ๆ  เช่น อะซิโตนเปอร์ออกไซด์ เมทิลเอทิลคีโตนเปอร์ออกไซด์ ไดเบนโซอิลเปอร์ออกไซด์


- ไวต่อการระเบิดเมื่อถูกกระแทกหรือเสียดสี
- ทำปฏิกิริยารุนแรงกับสารอินทรีย์
- เมื่อลุกติดไฟจะเกิดการเผาไหม้อย่างรวดเร็ว
img14.gif

วัตถุมีพิษ

ของแข็งหรือของเหลวปริมาณเล็กน้อยอาจทำให้เสียชีวิตหรือบาดเจ็บอย่างรุนแรงจากการกิน สูดดม  หรือสัมผัสทางผิวหนัง  เช่น อาร์ซีนิค ไซยาไนด์ ปรอท สารกำจัดศัตรูพืชโลหะหนักเป็นพิษ



- เป็นพิษ
- อันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
img16.gif

วัตถุติดเชื้อ

วัตถุที่มีเชื้อโรคปนเปื้อนและอาจทำให้เกิดโรคได้ เช่น ขยะติดเชื้อจากโรงพยาบาล เข็มฉีดยาใช้แล้ว เชื้อโรคแอนแทรกซ์ แบคทีเรีย ไวรัส


- แพร่เชื้อโรค
- อันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
img15.gif


วัตถุกัมมันตรังสี

วัตถุที่สามารถแผ่รังสีที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เช่น โคบอลต์ เรเดียม พลูโตเนียม ยูเรเนียม


- เป็นอันตรายต่อผิวหนัง
- มีผลต่อเม็ดเลือด
img17.gif

วัตถุกัดกร่อน

สามารถกัดกร่อนผิวหนังและเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ เช่น กรดเกลือ กรดกำมะถัน โซเดียมไฮดรอกไซด์ แคลเซียมไฮเปอร์คลอไรด์


- กัดกร่อนผิวหนังและระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ
- ทำปฏิกิริยากับโลหะทำให้เกิดก๊าซไวไฟ
- อันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
img18.gif

วัตถุอื่น ๆ ที่เป็นอันตราย

สารและสิ่งของที่ในขณะขนส่งมีความเป็นอันตรายและไม่จัดอยู่ในประเภท 1 ถึง 8 หรือสารที่มีการควบคุมอุณหภูมิในขณะขนส่งไม่ต่ำกว่า 100 องศาเซลเซียสในสภาพของเหลว หรือ
มีอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 240 องศาเซลเซียสในสภาพของแข็ง เช่น ยางมะตอยเหลว กำมะถันเหลว ขี้เถ้าจากเตาหลอมโลหะ


- อาจเกิดอันตรายต่อสุขภาพ
- อาจก่อให้เกิดความเป็นพิษ
- อาจเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม