วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม



 
          ประวัติความเป็นมา ภาควิชาเคมีก่อตั้งขึ้นและทำการสอนเมื่อครั้งยังเป็นวิทยาลัยวิชาการศึกษาในปีพ.ศ.2521 จนกระทั่ง
ได้รับการยกถานะเป็นมหาวิทยาลัยศรีนคริณทรวิโรฒ มหาสารคาม และปีพ.ศ. 2537 ได้เปลี่ยนสภาพ
เป็นมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปัจจุบันเปิดสอนหลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิตวท.บ.(เคมี)วิทยาศาสตร
มหาบัณฑิตวท.ม.(เคมีศึกษา) วท.ม.(เคมี) และหลักสูตรวิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต วท.ด.(เคมี)

ปรัชญา
ผู้มีปัญญาพึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน
ปณิธาน
มุ่งผลิตบัณฑิตทางด้านวิทยาศาสตร์ ให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการ มีคุณธรรม จริยธรรม พัฒนาการวิจัยและการบริการวิชาการโดยผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน
วิสัยทัศน์
เป็นภาควิชาเคมีที่ได้รับการยอมรับในเชิงวิชาการและงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ
พันธกิจ
1. ผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของสังคมทางด้านวิชาการ มีคุณธรรม จริยธรรม มีความเป็นประชาธิปไตยและห่างไกลยาเสพติด
2. จัดการศึกษาและพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์เคมีให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการ โดยมีการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล
3. ผลิตผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการทางด้านวิทยาศาสตร์เคมีที่มีคุณภาพทั้งระดับพื้นฐานและระดับประยุกต์ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาท้องถิ่นและประเทศ และเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
4. ให้บริการวิชาการแก่สังคม เพื่อตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นและประเทศ
5. อนุรักษ์และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทยและความเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น
6. สร้างความร่วมมือกับสถาบันหรือหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
แนวทางในการประกอบอาชีพ
เมื่อสำเร็จการศึกษาจะสามารถเข้าทำงานในหน่วยงานต่าง ๆ ได้หลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็น
บริษัทเอกชน หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือประกอบอาชีพส่วนตัวตัวอย่างหน่วยงานเอกชนที่
สามารถเข้าทำงานได้ เช่น บริษัทเคมีภัณฑ์ โรงงานยาสูบ โรงงานผลิตอาหาร บริษัทน้ำอัดลม
โรงงานน้ำตาล บริษัทน้ำมัน โรงงานผลิตเส้นใย โรงงานผลิตผงซักฟอก โรงงานปูนซีเมนต์ โรงงานสี
โรงงานกระจก โรงงานผลิตเยื่อกระดาษ เป็นต้น สำหรับหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ ได้แก่
กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ กองพิสูจน์หลักฐาน กรมตำรวจ กรมศุลกากร การไฟฟ้า
ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค กรมทรัพยากรธรณี
กรมวิทยาศาสตร์บริการ กรมพัฒนาที่ดิน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงนปรมาณู
เพื่อสันติ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เป็นต้น
แนวทางในการศึกษาต่อ
สามารถศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่ทำการเปิดสอนสาขาวิชาเคมีและสาขาวิชา
ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

วิทยาศาสตร์...(*_*)^

เวลาว่าง...ของการทำแล็บ ( *_*)zzZ

ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆๆ...(^+^)

สารอันตรายในบุหรี่

ควันบุหรี่จะประกอบไปด้วยสารเคมีที่มีอันตรายต่อสุขภาพกายของคนเราประมาณ 4000 ชนิด ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ 3 กลุ่ม คือ
กลุ่มแรกได้แก่ ทาร์ หรือ น้ำมันดิน หรือที่เห็นเป็นคราบบุหรี่นั่นเอง เป็นที่รวมของสารเคมีที่น่าสพึงกลัวที่สุด ในกลุ่มของไฮโดรคาร์บอนจะรวมตัวเป็นเป็นสารที่มีความเหนียวติดอยู่กับเนื้อปอด มีคุณสมบัติเป็นสารก่อมะเร็งโดยตัวของมันเอง และยังมีสารที่เร่งการเจริญเติบโตของมะเร็ง หากผู้สูบบุหรี่นั้นมีมะเร็งอยู่ในร่างกายแล้ว
กลุ่มที่สอง ได้แก่ นิโคติน ซึ่งจัดเป็นสารที่มีการกระตุ้นสมองและประสาทส่วนกลางได้ในระยะแรก แต่ระยะต่อมาจะมีฤทธิ์กดระบบประสาท นอกจากนี้ยังทำให้เส้นเลือดหดตัว มีผลทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น กระตุ้นหัวใจให้เต้นเร็วขึ้นด้วย นิโคตินนี่เองที่มีส่วนทำให้คนที่สูบบุหรี่อยากสูบอยู่เรื่อย ๆ
กลุ่มที่สาม ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซคึ่งมีความเข้มข้นสูงในควันบุหรี่จะไปขัดขวางการรับออกซิเจนของเม็ดเลือดแดง และยังทำให้ไขมันพอกพูนตามผนังเส้นเลือดมากขึ้น ทำให้เส้นเลือดตีบ สายตาเสื่อม ลดประสิทธิภาพในการตัดสินใจและลดการตอบสนองต่อเสียง ซึ่งเป็นอันตรายต่อคนขับรถ นักบิน และ ลดสมรรถภาพของนักกีฬาด้วย
ทั้งอังกฤษและสหรัฐอเมริกาได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่า การสูบบุหรี่ทำให้เกิดมะเร็งปอด และโรคอื่น ๆ ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2506 และ 2507 ตามลำดับ ควันบุหรี่มีสารก่อมะเร็งประมาณ 42 ชนิด จึงจัดได้ว่าควันบุหรี่เป็นแหล่งของสารก่อมะเร็งที่มากที่สุดและน่าสพึงกลัวที่สุดของมนุษยชาติ
ท่านที่ฟังเรื่องราวของสารอันตรายในบุหรี่มาถึงตรงนี้แล้ว ขอได้โปรดช่วยกันป้องกันลูกหลานของพวกเรา ที่ยังไม่เริ่มที่จะเข้าไปแตะต้องบุหรี่เป็นอันดับแรก ชวนให้เขาฟังเรื่องนี้ใหม่และลองเปรียบเทียบเหตุผลที่เขาอยากสูบบุหรี่กับผลร้ายที่จะตามมาว่า เขาจะได้อะไรจากการสูบบุหรี่ คุ้มค่ากับที่เขาจะเสี่ยงต่ออันตรายร้ายแรงต่าง ๆ หรือไม่ ส่วนท่านที่สูบบุหรี่อยู่แล้ว ก็คงจะไม่สายเกินไปที่จะเลิกบุหรี่ สองสิ่งแรกที่ท่านจะได้ทันทีจากการเลิกสูบบุหรี่ก็คือ ตัวท่านรับสารพิษน้อยลงไป และบุญกุศลจากการที่ท่านจะไม่ทำร้ายผู้อื่นอีกต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำร้ายคนในครอบครัวของท่านเอง

รณรงค์งดสูบบุหรี่ กลุ่ม D-jaa

มลพิษจากสารอันตราย

  • ปัจจุบันประเทศไทยมีการนำสารอันตรายเข้ามาใช้ประโยชน์ในการพัฒนา ทั้งทางด้านการเกษตร อุตสาหกรรม และสาธารณสุขเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ทั้งชนิดและปริมาณ โดยนำสารอันตรายทั้งในรูปสารเคมีอินทรีย์และสารอนินทรีย์เข้ามาจากประเทศเพื่มขึ้นจาก 1.31 ล้านตัน ในปี พ.ศ. 2531 เป็น 2.79 ล้านตัน ในปี พ.ศ. 2536 สารอันตรายที่นำเข้าเหล่านี้ จะอยู่ในลักษณะที่เป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปและสารเคมีพื้นฐาน ที่จะต้องนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิตอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมต่อไป โดยส่วนใหญ่จะเป็นสารที่จัดอยู่ในจำพวกวัตถุไวไฟ วัตถุระเบิด วัตถุมีพิษ และวัตถุกัดกร่อน สารอันตรายเหล่านี้ปัจจุบันนำมาใช้อย่างไม่ถูกต้อง ขาดความรับผิดชอบ และความตะหนัก ตลอดจนขาดการรักกุมในการควบคุมอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การนำเข้า การผลิต การจำหน่าย การขนส่ง การใช้การเก็บรักษา และการทำลายกาก ได้มีผลทำให้เกิดอุบัติภัยร้ายแรงและเกิดพิษภัยอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งความเป็นพิษนี้เป็นได้ทั้งแบบเฉียบพัน และเรื้อรัง รวมทั้งสร้างความสูญเสียทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนด้วย นอกจากนี้ยังมีการตรวจพบสารเคมีตกค้างในสิ่งแวดล้อมต่างๆ ทั้งในดิน น้ำ และตะกอน ซึ่งสะสมขึ้นเรื่อยๆ จนอาจนำไปสู่ความเสียหายของระบบนิเวศน์ได้ และที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือการตกค้างของสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชในผลิตผลการเกษตร ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบต่อผู้บริโภคและการส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศด้วย
     
  • ปัญหามลพิษจากสารอันตรายดังกล่าว ได้มีการแก้ไปแล้วบางส่วนแต่ก็ยังมีแนวโน้มที่จะรุนแรงมากขึ้นต่อไปในอนาคตได้ เนื่องจากประเทศไทยกำลังพัฒนาเป็นประเทศกึ่งอุตสาหกรรมหรือประเทศอุตสาหกรรมใหม่จึงมีแนวโน้มที่จะต้องนำสารอันตรายเข้ามาใช้ประโยชน์มากขึ้น ซึ่งจะมีผลทำให้เกิดปัญหามลพิษจากสารอันตรายมากขึ้นด้วนเช่นกัน ถ้าขาดการจัดการที่เหมาะสมตั้งแต่ขั้นตอนการนำเข้า การผลิต การจำหน่าย การขนส่ง การใช้ การเก็บรักษาและการกำจัดกากทั้งนี้เนื่องจากในปัจจุบันการนำเข้าสารอันตรายบางชนิดยังไม่มีการควบคุมไม่มีชื่อสามัญกำกับ ขากมาตรฐานและเกณฑ์ปฏิบัติในการขนส่ง ขาดระบบการติดตามการขนส่ง ขาดการพิจารณากลั่นกรองเทคโนโลยีในนกระบวนการผลิตไม่มีการควบคุมสารอันตรายในระบบการผลิต ขาดการควบคุมดูแลผู้จำหน่ายรวมทั้งแผนปฏิบัติการฉุกเฉินในกรณีเกิดอุบัติภัยจากสารอันตรายยังไม่ครอบคลุมพื้นที่ ที่มีความเสี่ยงและการปฏิบัติตามแผนก็ยังไม่มีประสิทธิภาพ ประการสำคัญ การให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพิษภัยของสารอันตรายยังไม่ครอบคลุมทั่วถึง และเจ้าสถานประกอบการขาดความรับผิดชอบในการดูแลและป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นด้วย