วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม



 
          ประวัติความเป็นมา ภาควิชาเคมีก่อตั้งขึ้นและทำการสอนเมื่อครั้งยังเป็นวิทยาลัยวิชาการศึกษาในปีพ.ศ.2521 จนกระทั่ง
ได้รับการยกถานะเป็นมหาวิทยาลัยศรีนคริณทรวิโรฒ มหาสารคาม และปีพ.ศ. 2537 ได้เปลี่ยนสภาพ
เป็นมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปัจจุบันเปิดสอนหลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิตวท.บ.(เคมี)วิทยาศาสตร
มหาบัณฑิตวท.ม.(เคมีศึกษา) วท.ม.(เคมี) และหลักสูตรวิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต วท.ด.(เคมี)

ปรัชญา
ผู้มีปัญญาพึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน
ปณิธาน
มุ่งผลิตบัณฑิตทางด้านวิทยาศาสตร์ ให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการ มีคุณธรรม จริยธรรม พัฒนาการวิจัยและการบริการวิชาการโดยผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน
วิสัยทัศน์
เป็นภาควิชาเคมีที่ได้รับการยอมรับในเชิงวิชาการและงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ
พันธกิจ
1. ผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของสังคมทางด้านวิชาการ มีคุณธรรม จริยธรรม มีความเป็นประชาธิปไตยและห่างไกลยาเสพติด
2. จัดการศึกษาและพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์เคมีให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการ โดยมีการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล
3. ผลิตผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการทางด้านวิทยาศาสตร์เคมีที่มีคุณภาพทั้งระดับพื้นฐานและระดับประยุกต์ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาท้องถิ่นและประเทศ และเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
4. ให้บริการวิชาการแก่สังคม เพื่อตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นและประเทศ
5. อนุรักษ์และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทยและความเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น
6. สร้างความร่วมมือกับสถาบันหรือหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
แนวทางในการประกอบอาชีพ
เมื่อสำเร็จการศึกษาจะสามารถเข้าทำงานในหน่วยงานต่าง ๆ ได้หลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็น
บริษัทเอกชน หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือประกอบอาชีพส่วนตัวตัวอย่างหน่วยงานเอกชนที่
สามารถเข้าทำงานได้ เช่น บริษัทเคมีภัณฑ์ โรงงานยาสูบ โรงงานผลิตอาหาร บริษัทน้ำอัดลม
โรงงานน้ำตาล บริษัทน้ำมัน โรงงานผลิตเส้นใย โรงงานผลิตผงซักฟอก โรงงานปูนซีเมนต์ โรงงานสี
โรงงานกระจก โรงงานผลิตเยื่อกระดาษ เป็นต้น สำหรับหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ ได้แก่
กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ กองพิสูจน์หลักฐาน กรมตำรวจ กรมศุลกากร การไฟฟ้า
ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค กรมทรัพยากรธรณี
กรมวิทยาศาสตร์บริการ กรมพัฒนาที่ดิน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงนปรมาณู
เพื่อสันติ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เป็นต้น
แนวทางในการศึกษาต่อ
สามารถศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่ทำการเปิดสอนสาขาวิชาเคมีและสาขาวิชา
ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

วิทยาศาสตร์...(*_*)^

เวลาว่าง...ของการทำแล็บ ( *_*)zzZ

ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆๆ...(^+^)

สารอันตรายในบุหรี่

ควันบุหรี่จะประกอบไปด้วยสารเคมีที่มีอันตรายต่อสุขภาพกายของคนเราประมาณ 4000 ชนิด ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ 3 กลุ่ม คือ
กลุ่มแรกได้แก่ ทาร์ หรือ น้ำมันดิน หรือที่เห็นเป็นคราบบุหรี่นั่นเอง เป็นที่รวมของสารเคมีที่น่าสพึงกลัวที่สุด ในกลุ่มของไฮโดรคาร์บอนจะรวมตัวเป็นเป็นสารที่มีความเหนียวติดอยู่กับเนื้อปอด มีคุณสมบัติเป็นสารก่อมะเร็งโดยตัวของมันเอง และยังมีสารที่เร่งการเจริญเติบโตของมะเร็ง หากผู้สูบบุหรี่นั้นมีมะเร็งอยู่ในร่างกายแล้ว
กลุ่มที่สอง ได้แก่ นิโคติน ซึ่งจัดเป็นสารที่มีการกระตุ้นสมองและประสาทส่วนกลางได้ในระยะแรก แต่ระยะต่อมาจะมีฤทธิ์กดระบบประสาท นอกจากนี้ยังทำให้เส้นเลือดหดตัว มีผลทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น กระตุ้นหัวใจให้เต้นเร็วขึ้นด้วย นิโคตินนี่เองที่มีส่วนทำให้คนที่สูบบุหรี่อยากสูบอยู่เรื่อย ๆ
กลุ่มที่สาม ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซคึ่งมีความเข้มข้นสูงในควันบุหรี่จะไปขัดขวางการรับออกซิเจนของเม็ดเลือดแดง และยังทำให้ไขมันพอกพูนตามผนังเส้นเลือดมากขึ้น ทำให้เส้นเลือดตีบ สายตาเสื่อม ลดประสิทธิภาพในการตัดสินใจและลดการตอบสนองต่อเสียง ซึ่งเป็นอันตรายต่อคนขับรถ นักบิน และ ลดสมรรถภาพของนักกีฬาด้วย
ทั้งอังกฤษและสหรัฐอเมริกาได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่า การสูบบุหรี่ทำให้เกิดมะเร็งปอด และโรคอื่น ๆ ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2506 และ 2507 ตามลำดับ ควันบุหรี่มีสารก่อมะเร็งประมาณ 42 ชนิด จึงจัดได้ว่าควันบุหรี่เป็นแหล่งของสารก่อมะเร็งที่มากที่สุดและน่าสพึงกลัวที่สุดของมนุษยชาติ
ท่านที่ฟังเรื่องราวของสารอันตรายในบุหรี่มาถึงตรงนี้แล้ว ขอได้โปรดช่วยกันป้องกันลูกหลานของพวกเรา ที่ยังไม่เริ่มที่จะเข้าไปแตะต้องบุหรี่เป็นอันดับแรก ชวนให้เขาฟังเรื่องนี้ใหม่และลองเปรียบเทียบเหตุผลที่เขาอยากสูบบุหรี่กับผลร้ายที่จะตามมาว่า เขาจะได้อะไรจากการสูบบุหรี่ คุ้มค่ากับที่เขาจะเสี่ยงต่ออันตรายร้ายแรงต่าง ๆ หรือไม่ ส่วนท่านที่สูบบุหรี่อยู่แล้ว ก็คงจะไม่สายเกินไปที่จะเลิกบุหรี่ สองสิ่งแรกที่ท่านจะได้ทันทีจากการเลิกสูบบุหรี่ก็คือ ตัวท่านรับสารพิษน้อยลงไป และบุญกุศลจากการที่ท่านจะไม่ทำร้ายผู้อื่นอีกต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำร้ายคนในครอบครัวของท่านเอง

รณรงค์งดสูบบุหรี่ กลุ่ม D-jaa

มลพิษจากสารอันตราย

  • ปัจจุบันประเทศไทยมีการนำสารอันตรายเข้ามาใช้ประโยชน์ในการพัฒนา ทั้งทางด้านการเกษตร อุตสาหกรรม และสาธารณสุขเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ทั้งชนิดและปริมาณ โดยนำสารอันตรายทั้งในรูปสารเคมีอินทรีย์และสารอนินทรีย์เข้ามาจากประเทศเพื่มขึ้นจาก 1.31 ล้านตัน ในปี พ.ศ. 2531 เป็น 2.79 ล้านตัน ในปี พ.ศ. 2536 สารอันตรายที่นำเข้าเหล่านี้ จะอยู่ในลักษณะที่เป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปและสารเคมีพื้นฐาน ที่จะต้องนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิตอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมต่อไป โดยส่วนใหญ่จะเป็นสารที่จัดอยู่ในจำพวกวัตถุไวไฟ วัตถุระเบิด วัตถุมีพิษ และวัตถุกัดกร่อน สารอันตรายเหล่านี้ปัจจุบันนำมาใช้อย่างไม่ถูกต้อง ขาดความรับผิดชอบ และความตะหนัก ตลอดจนขาดการรักกุมในการควบคุมอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การนำเข้า การผลิต การจำหน่าย การขนส่ง การใช้การเก็บรักษา และการทำลายกาก ได้มีผลทำให้เกิดอุบัติภัยร้ายแรงและเกิดพิษภัยอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งความเป็นพิษนี้เป็นได้ทั้งแบบเฉียบพัน และเรื้อรัง รวมทั้งสร้างความสูญเสียทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนด้วย นอกจากนี้ยังมีการตรวจพบสารเคมีตกค้างในสิ่งแวดล้อมต่างๆ ทั้งในดิน น้ำ และตะกอน ซึ่งสะสมขึ้นเรื่อยๆ จนอาจนำไปสู่ความเสียหายของระบบนิเวศน์ได้ และที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือการตกค้างของสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชในผลิตผลการเกษตร ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบต่อผู้บริโภคและการส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศด้วย
     
  • ปัญหามลพิษจากสารอันตรายดังกล่าว ได้มีการแก้ไปแล้วบางส่วนแต่ก็ยังมีแนวโน้มที่จะรุนแรงมากขึ้นต่อไปในอนาคตได้ เนื่องจากประเทศไทยกำลังพัฒนาเป็นประเทศกึ่งอุตสาหกรรมหรือประเทศอุตสาหกรรมใหม่จึงมีแนวโน้มที่จะต้องนำสารอันตรายเข้ามาใช้ประโยชน์มากขึ้น ซึ่งจะมีผลทำให้เกิดปัญหามลพิษจากสารอันตรายมากขึ้นด้วนเช่นกัน ถ้าขาดการจัดการที่เหมาะสมตั้งแต่ขั้นตอนการนำเข้า การผลิต การจำหน่าย การขนส่ง การใช้ การเก็บรักษาและการกำจัดกากทั้งนี้เนื่องจากในปัจจุบันการนำเข้าสารอันตรายบางชนิดยังไม่มีการควบคุมไม่มีชื่อสามัญกำกับ ขากมาตรฐานและเกณฑ์ปฏิบัติในการขนส่ง ขาดระบบการติดตามการขนส่ง ขาดการพิจารณากลั่นกรองเทคโนโลยีในนกระบวนการผลิตไม่มีการควบคุมสารอันตรายในระบบการผลิต ขาดการควบคุมดูแลผู้จำหน่ายรวมทั้งแผนปฏิบัติการฉุกเฉินในกรณีเกิดอุบัติภัยจากสารอันตรายยังไม่ครอบคลุมพื้นที่ ที่มีความเสี่ยงและการปฏิบัติตามแผนก็ยังไม่มีประสิทธิภาพ ประการสำคัญ การให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพิษภัยของสารอันตรายยังไม่ครอบคลุมทั่วถึง และเจ้าสถานประกอบการขาดความรับผิดชอบในการดูแลและป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554

ระวังสารเคมีในเครื่องสําอาง!

เครื่องสําอางเป็นเพื่อนคู่ใจที่ช่วยให้สาวๆทั้งหลายดูสวยดึงดูดใจมากขึ้น แต่รู้ไหมว่ามีสารเคมีหลายชนิดที่หากใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสําอางค์ก็จะก่อพิษให้ร่างกาย ได้แก่

MINERAL OIL (Petrolatum) : สารจากการสกัดนํ้ามันปิโตรเลียม ใช้เพื่อรักษาความชุ่มชื้น แต่อาจอุดตันรูขุมขนจนเกิดสิวได้

PROPYLENE GLYCOL : ใช้ป้องกันการจับเป็นก้อนแข็งในมอยส์เจอร์ไรเซอร์บางยี่ห้อ มีผลเสียต่อระบบประสาทส่วนกลางและเป็นสารตั้งต้นสารก่อมะเร็ง

TRIETHANOLAMINE (TEA) : ใช้ปรับค่าสมดุลกรดด่างในผลิตภัณฑ์เพื่อผิวกาย ซึ่งหากมีมากก็จะระคายเคือง และมีผลต่อพัฒนาการทางสมองของทารกในครรภ์

ISOPROPYL MYRISTATE (IPM) : ใช้เคลือบผิวรักษาความชุ่มชื่น อาจอุดตันรูขุมขนได้

POLYETHYLENE: เป็นเม็ดพลาสติกใช้ในการสครับขัดผิว แม้ไม่ซึมผ่านผิวหนังได้ แต่ก็อาจระคายเคืองผิว

IMIDAZOLIDINYL1 AND DIAZOLIDDINYL1 UREA: สารกันเสียในเครื่องสําอาง การสลายตัวทําให้เกิดฟอร์มาลดีไฮด์ (formaldehyde) มีผลต่อผิวหนังและระบบหายใจ เป็นสารก่อมะเร็งชนิดหนึ่ง

PARABEN: สารกันเสียในผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่น ใช้ในผลิตภัณฑ์หลายประเภทจึงง่ายต่อการสะสมในร่างกาย หากปริมาณมากจะขัดขวางการทํางานของต่อมไร้ท่อ

SODIUM LAURETH SULFATE (SLES): พบในแชมพูและเจลอาบนํ้า ใช้เพื่อให้เกิดฟองและลดแรงตึงผิว อาจทําให้เส้นผมและผิวอ่อนแอลง

ARTIFICIAL COLORS: สีที่ใช้เติมแต่งผลิตภัณฑ์ ซึ่งหากมีส่วนผสมของสารหนูและสารตะกั่วก็จะเป็นสารก่อมะเร็งได้

SILICONE: สารคล้ายยาง มีความยืดหยุ่นสูง นิยมใช้อย่างแพร่หลายในผลิตภัณฑ์ เช่น ครีมนวดผม อาจสะสมในตับและต่อมนํ้าเหลืองได้

PETROLEUM DERIVATIVE: สารจากการแยกนํ้ามันปิโตรเลียม ใช้เพื่อกักเก็บความชื้นของผิว อาจทําให้ผิวระคายเคือง อุดตัน เกิดเป็นสิว

SYNTHETIC POLYMER: สารโพลีเมอร์ที่ใช้เจลแต่งผมหรือครีมนวดผมบางยี่ห้อ ซึ่งหากเป็นสารที่ได้จากพืชก็จะเป็นมิตรกับร่างกายมากกว่าสารจากพลาสติกสังเคราะห์

POLYETHYLENE GLYCOL : ใช้เพิ่มความชุ่มชื้นในครีมทําความสะอาดและบํารุงผิว ซึ่งสถาบันเผยแพร่ข้อมูลด้านความปลอดภัยของวัตถุในสหรัฐอเมริกา ได้ออกคําเดือนว่าระคายเคืองต่อผิวสูง ทั้งอาจเป็นสาเหตุความผิดปกติของตับและไต และอาจเป็นสาเหตุของมะเร็งตับและจมูก

QUATS: สารชะล้างที่ใช้ผสมในผลิตภัณฑ์ เช่น นํ้ายาล้างพื้น หากนํามาผสมในแชมพูหรือเจลอาบนํ้าก็จะทําให้เกิดผดผื่นและทําลายระบบหายใจ

ดังนั้นเวลาที่เลือกซื้อเครื่องสําอางก็ควรอ่านฉลากที่ระบุส่วนผสมดูก่อนว่าสารเหล่านี้เป็นส่วนผสมหรือไม่ ซึ่งส่วนผสมเหล่านี้มักจะเรียงจากปริมาณมากที่สุดไปถึงน้องที่สุดตามลําดับในฉลาก ควรสวยแบบปลอดสารเคมี เพื่อให้ผิวได้พักผ่อนบ้างก็น่าจะได้

อันตรายจากสารเคมี

การเก็บสารเคมีให้ถูกต้อง

การเก็บสารเคมีให้ถูกต้อง

            เป็นที่ทราบกันแล้วว่าสารเคมีถูกจำแนกออกเป็น 9 ประเภท ซึ่งในแต่ละประเภท
มีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน สารเคมีบางชนิดมีอันตรายเนื่องจากคุณสมบัติของสารนั้นเอง ในขณะที่สารบางอย่างเมื่อยู่ตามลำพังไม่มีพิษภัยใดๆ แต่เมื่อปนอยู่กับสารเคมีอื่นๆจะทำให้เกิดอันตราย
ขึ้นได้ การจัดเก็บสารเคมีมากมายหลายวิธี วิธีที่สะดวกและมีผู้ใช้กันมากที่สุดคือ เรียงตามตัวอักษร แต่การจัดแบบดังกล่าวอาจทำให้สารที่ไม่ควรอยู่ใกล้กันมาเก็บไว้ด้วยกัน ซึ่งอาจเกิดระเบิดหรือปล่อยก๊าซพิษออกมาเมื่อไรก็ได้ ดังนั้นวิธีเก็บสารเคมีโดยรียงตามลำดับตัวอักษร จึงไม่ใช่วิธีการเก็บสารเคมีที่ปลอดภัย อีกวิธีหนึ่งคือ การจัดสารเคมีที่ดับเพลิงโดยวิธีเดียวกันไว้ด้วยกัน
เพื่อสะดวกในการใช้เครื่องดับเพลิงเวลาเกิดไฟไหม้ แต่ก็เช่นเดียวกันกับแบบแรกคือจะทำให้สาร
ที่เข้ากันไม่ได้มาอยู่ใกล้กัน
             วิธีที่ดีที่สุด คือการจัดกลุ่มสารเคมีตามความว่องไวต่อปฏิกิริยา และกำหนดให้สารที่เข้ากันไม่ได้ วางแยกเก็บให้ห่างจากกันอย่างเด็ดขาด สารเคมีหลายพันชนิดที่ใช้กันอยู่อาจแบ่งได้เป็น
6 กลุ่มคือ
- สารไวไฟ (flammable chemicals)
- สารระเบิดได้ (explosive chemicals)
- สารเป็นพิษ (toxic chemicals)
- สารกัดกร่อน (corrosive chemicals)
- สารกัมมันตรังสี (radioactive chemicals)
- สารที่เข้าไม่ได้ (incompatible chemicals)

          ปกติแล้วการเก็บสารเคมีทุกชนิด จะมีหลักการทั่วๆไป ดังนี้
1. สถานที่เก็บสารควรเป็นสถานที่ปิดมิดชิด อยู่ภายนอกอาคาร ฝาผนังควรทำด้วยสารทนไฟ (กันไฟ) ปิดล็อคได้ และมีป้ายบอกอย่างชัดเจนว่า “สถานที่เก็บสารเคมี”
2. ภายในสถานที่เก็บสารเคมี ควรมีอากาศเย็นและแห้ง มีระบบถ่ายเทอากาศที่ดี และแดดส่องไม่ถึง
3. ชั้นวางสารเคมีภายในสถานที่เก็บสารเคมีต้องมั่นคง แข็งแรง ไม่มีการสั่นสะเทือน
4. ภาชนะที่บรรจุสารเคมี ต้องมีป้ายชื่อที่ทนทานคิดอยู่พร้อมทั้งบอกอันตรายและข้อควรระวังต่างๆ
5. ภาชนะที่ใส่ต้องทนทานต่อความดัน การสึกกร่อนและแรงกระแทกจากภายนอก ควรมีภาชนะสำรอง ในกรณีที่เกิดการแตกหรือภาชนะรั่วจะได้เปลี่ยนได้ทันที
6. ภาชนะเก็บสารที่ใหญ่และหนักไม่ควรเก็บในที่สูง เพื่อจะได้สะดวกในการหยิบใช้
7. ขวดไม่ควรวางบนพื้นโดยตรง หรือไม่ควรวางช้อนบนขวดอื่นๆ และมีระยะห่างกัน
พอสมควรระหว่างชั้นที่เก็บสาร ไม่ควรวางสารตรงทางแคบ หรือใกล้ประตูหรือหน้าต่าง
8. ควรเก็บสารตามลำดับการเข้ามาก่อนหลัง และต้องใช้ก่อนหมดอายุ ถ้าหมดอายุแล้ว
ต้องทำลายทันที ห้ามใช้โดยเด็ดขาด
9. ควรแยกเก็บสารเคมีในปริมาณน้อยๆ โดยใช้ภาชนะบรรจุขนาดเล็ก บริเวณที่เก็บสาร
ควรรักษาความสะอาดและให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยอย่างสม่ำเสมอ และมีการจัดเรียงอย่าง
มีระบบ
10. ต้องมีอุปกรณ์ดับเพลิง อุปกรณ์ป้องกันภัย และเครื่องปฐมพยาบาลพร้อมในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน

โดยทั่วไป เมื่อทราบคุณสมบัติของสารแล้วก็สามารถกำหนดได้ว่าจะเป็นสารอย่างไร
ตัวอย่างเช่น ของเหลวที่มีจุดเยือกแข็งต่ำๆ จะต้องเก็บที่อุณหภูมิสูงกว่านั้น เพราะเมื่อสารนั้น
แข็งตัว ปริมาตรจะเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจจะทำให้ขวดแตกได้ และที่อันตรายมากคือสารบางประเภท
ต้องใช้ตัวยับยั้ง (inhibitor) ใส่ไว้เพื่อป้องกันไม่ให้สารนั้นระเบิด ถ้าสารแข็งตัวแยกตัวจากตัวยับยั้งมาเป็นสารบริสุทธิ์ เมื่อสารนั้นหลอมเหลวอีกครั้งหนึ่งจะเกิดระเบิดได้ เช่น acrylic acid
นอกจากการพิจารณาเก็บสารเคมีตามความไวในปฏิกิริยาแล้ว ยังต้องพิจารณาถึงการ
เข้ากันไม่ได้ของสารเคมี เช่น galcial acetic acid เป็นสารเคมีที่จุดติดไฟและระเบิดได้เมื่อถูกสัมผัสกับ oxidizing acid เช่น nitric acid, perchloric acid หรือ sulfuric acid เข้มข้น
เพราะฉะนั้นควรเก็บ acetic acid ให้ห่างจาก oxidizers ไม่ใช่กรดเหมือนกันจะเก็บด้วยกันได้
มีสารเคมีหลายประเภทที่เราต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ ได้แก่ กรด (acid) ด่าง (bases)
สารไวไฟ (flammables) ออกซิไดส์เซอร์ (oxidizers) สารที่ไวต่อน้ำ (water reactive chemicals)
สารไพโรฟอริก (pyrophoric substances) สารที่ไวต่อแสง (light-sensitive chemicals) สารที่จะเกิดเปอร์ออกไซด์ได้ (peroxidizable compounds) และสารเป็นพิษ (toxic compounds) เป็นต้น
สารแต่ละประเภทมีวิธีการเก็บอย่างปลอดภัยตามคุณสมบัติของสารประเภทนั้น