วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สารเคมีและวัตถุอันตรายในอุตสาหกรรม : รู้เร็วตายช้า รู้ช้าตายเร็ว

ผลสำเร็จจากการพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7

ผลักดันให้เศรษฐกิจของประเทศ ขยายตัวเพิ่ม ขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 8.2 ต่อปี โดยมีรายได้

เฉลี่ยต่อหัวของประชากรในปี พ.ศ.2537 ประมาณ 60,000 บาท ฐานะทางเศรษฐกิจการ

เงินของ ประเทศอยู่ในเกณฑ์ดี มีเสถียรภาพ สัดส่วนคนยากจนต่อประชากรทั้งประเทศลด

ลงจากร้อยละ 26.3 ในปี พ.ศ.2529 เหลือร้อยละ 13.7 ในปี พ.ศ.2535 และปัจจุบัน

ธนาคารโลก ได้ประกาศให้ประเทศไทย หลุดพ้นจาการเป็น ประเทศยากจนแล้ว จาก

ข้อมูลตัวเลขดังกล่าว ทำให้เราสามารถมองภาพรวมของการพัฒนาประเทศไทย เป็นภาพ

ที่ประสบผลสำเร็จ และบรรลุเป้าหมาย ในการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างดียิ่ง แต่เบื้อง

หลังตัวเลขความสำเร็จที่สวยหรูนี้ ได้ซ่อนบาด แผลแห่ง การพัฒนาให้เกิดขึ้นกับสังคม

และสิ่งแวดล้อมนานับประการ อาทิเช่น สภาพสังคมมีความสับสนและมีความเป็นวัตถุนิยม

มากขึ้น ช่องว่างของการกระจายรายได้ของประชากรทั้งประเทศยัง มีแนวโน้มสูง ทรัพยากร

ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมถูกทำลายลงไป ตลอดเวลา สาเหตุต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนแต่ทำให้

คุณภาพชีวิตของคนไทยในสังคมเสื่อม โทรมลงไปเป็นลำดับ

          จากนโยบายขยายภาคการผลิต โดยยึดหลักการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและ

เทคโนโลยีเป็นฐาน แต่มิได้คำนึงถึงแนวทางการ อนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ การป้องกัน

ปัญหามลพิษและขาดหลักการกำจัดกากของเสียที่ถูกต้อง ส่งผลให้มีการนำเข้าสารเคมี

ทั้งในภาค เกษตรกรรมและอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมาก โดยขาดการป้องกันผลกระทบทาง

ด้านสิ่งแวดล้อม คิดโดยเฉลี่ยรายปี เป็นสารเคมีประเภทสารอนินทรีย์ประมาณ 270,000

ตัน และสารอินทรีย์ประมาณ 300,000 ตัน การใช้สารเคมีดังกล่าวยังไม่ถูก ต้องตรงตาม

หลักวิชา เนื่องจากผู้ใช้และผู้รับผิดชอบยังขาดความรู้ ความเข้าใจ และขาดการจัดการที่ดี

เป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติภัย และสารพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้เกิดอันตรายต่อ

มนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ตลอดจนเป็นปัญหาต่อการส่งออกผลิตภัณฑ์ไป จำหน่ายยังตลาด

โลก เมื่อเป็นเช่นนี้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสารเคมีและวัตถุมีพิษ จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่าง

ยิ่งที่ผู้ประกอบการและ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายจะต้องให้ความสนใจใฝ่รู้ และระมัดระวัง

เป็นพิเศษ เพราะสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ล้วนส่งผลกระทบอย่างร้ายแรง ทั้งทางตรงและทางอ้อม

ต่อสิ่งมีชีวิต นับจากปัจจุบันสู่อนาคตและมนุษย์ ไม่สามารถจะปฏิเสธ หรือหลีกเลี่ยงความ

รับผิดชอบ เหล่านี้ได้เลย

 สถิติตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับจำนวนโรงงาน อุตสาหกรรมได้ระบุ ไว้ว่า ในปี พ.ศ. 2538

ประเทศไทยมีจำนวนโรงงาน อุตสาหกรรม กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคเป็นจำนวนทั้งสิ้น

103,545 โรง ตามนโยบายการพัฒนาประเทศจากประเทศเกษตรกรรม สู่ความเป็น

ประเทศ อุตสาหกรรม ทำให้การนำเข้าสารเคมีและวัตถุอันตรายจากต่างประเทศมีแนวโน้ม

ขยายตัวในอัตราเร่งที่สูงมาก มีการประมาณว่าใน พ.ศ. 2543 ประเภทของอุตสาหกรรม

ที่จะเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมเส้นใยเทียม การผลิตสารกึ่งตัวนำ พลาสติก การผลิต

เหล็กกล้า การผลิตเยื่อไม้ และกระดาษ รวมทั้งอุตสาหกรรมเครื่องหนัง ซึ่งอุตสาหกรรม

ต่าง ๆ เหล่านี้จะชักนำให้ ปริมาณการใช้สารเคมีและวัตถุ อันตรายของประเทศเพิ่มสูงขึ้น

อย่างน่าสะพรึงกลัว โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตสารกึ่งตัวนำ ซึ่งมีการเคลื่อนย้าย

แหล่งผลิตภัณฑ์ อิเล็กทรอนิกส์ สำหรับใช้เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์จากประเทศกำลัง

พัฒนามากขึ้น เนื่องจาก ประเทศที่พัฒนาแล้วกำลังประสบปัญหา พิษภัยจากสารเคมีและ

วัตถุอันตราย รวมทั้งแรงงานในประเทศต่าง ๆ เหล่านั้น เกิดโรค จากการทำงาน

( Occupational Disease ) ที่ร้ายแรงเพิ่มมากขึ้นทุกขณะ
          หลักฐานที่ชี้ชัดอีกประการหนึ่งถึงการเพิ่มขึ้นของสารเคมีและวัตถุอันตราย

คือ กากของเสียอันตราย ( Harzadous wastes ) ที่ถูกปล่อยออกมาทำอันตรายต่อ

สิ่งแวดล้อม ซึ่งจากการประมาณการณ์พบว่า ปริมาณของเสียอันตรายส่วนใหญ่ มาจาก

แหล่งกำเนิด ทาง อุตสาหกรรมการผลิต ( ตารางที่ 1 ) และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ตามการ

พัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม สิ่งที่น่าจับตามองอีกอย่าง ก็คือ การกระจุกตัวของโรง

งานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการชุบ การกลึง การซ่อมอุปกรณ์ขนส่ง และอุตสาหกรรม

เคมี ในเขต กรุงเทพ มหานครและปริมณฑล ซึ่งมีจำนวนถึง 9,970 โรง และมีการจัดจ้าง

คนงานเข้ามา ทำงานในระบบถึงร้อยละ 80 ของคนงาน ทั้งประเทศ ดังนั้น ถ้าใช้ตัวเลข

ข้อมูลดังกล่าวเป็นฐานการพิจารณาแล้วมองย้อนกลับขึ้นไป สิ่งที่พอจะกระทำให้เรามอง

เห็นภาพก็คือ การที่จะทำ ให้ปัญหาที่เกิด จากสารเคมีและวัตถุอันตรายจากอุตสาหกรรม

ลดระดับความรุนแรงลงได้ จะต้งอเริ่มจากการ ให้ความรู้ และแนวทาง ปฎิบัติที่ถูกต้องกับ

บุคลากรและผู้เกี่ยวข้องในแวดวงอุตสาหกรรมเป็นอันดับแรก โดยเฉพาะใน พื้นที่ที่ต้อง

เผชิญ ความเสี่ยงจาก ความเสียหายถ้าเกิดอุบัติภัย เช่น ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

รวมทั้งพื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรม ทุกแห่ง ของประเทศ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น