วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

                       
              
                     หลักในการควบคุมและป้องกันอันตราย จากสารเคมี        แหล่งกำเนิดของสารเคมี
               ใช้สารที่มีพิษน้อยกว่าแทน
  • เปลี่ยนกระบวนการผลิตใหม่ เช่น ใช้ระบบเปียกแทนระบบแห้ง เพื่อมิให้เกิดฝุ่นฟุ้งกระจาย
  • แยกกระบวนการผลิตที่มีอันตรายออกต่างหาก
  • สร้างที่ปกปิดกระบวนการผลิตให้มิดชิด มิให้สารเคมีฟุ้งกระจายออกไป
  • ติดตั้งระบบดูดอากาศเฉพาะที่
  • การบำรุงรักษา เครื่องมือ เครื่องจักร
       ทางผ่านของสารเคมี
  • การบำรุงรักษาสถานที่ทำงานให้สะอาดเรียบร้อย
  • การติดตั้งระบบระบายอากาศทั่วไป
  • เพิ่มระยะทางให้ผู้ปฏิบัติห่างจากแหล่งสารเคมี
  • การตรวจหาปริมาณสารเคมีเทียบกับค่ามาตรฐานความปลอดภัยจะต้องปรับปรุง แก้ไขหากสูงเกินกว่าค่ามาตรฐานความปลอดภัย
       ผู้ปฏิบัติงาน
  • การให้การศึกษาและการฝึกอบรมให้ทราบถึงอันตรายและการป้องกัน
  • การลดชั่วโมงการทำงานที่เกี่ยวกับสารเคมีที่เป็นอันตรายให้น้อยลง
  • การหมุนเวียนหรือการสับเปลี่ยนหน้าที่การปฏิบัติงาน
  • การให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานอยู่ในห้องที่ควบคุมเป็นพิเศษ
  • การตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน
  • การใช้เครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
       การใช้สารเคมี
  • ต้องทราบถึงอันตรายของสารเคมีและวิธีการควบคุม
  • ต้องล้างมือทุกครั้งหลังปฏิบัติงานกับสารเคมี
  • สวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลเสมอ
  • ทำความสะอาดบริเวณทำงานทุกครั้งหลังเลิกงาน
  • ปิดฝาภาชนะให้แน่นทุกครั้งหลังเลิกใช้
  • อย่า! ใช้ปากดูดสารเคมีแทนลูกยาง
  • จัดเก็บสารเคมีไว้ในที่เย็น อากาศถ่ายเทดี ห่างแหล่งกำเนิดประกายไฟ
  • อย่า! ปฏิบัติงานตามลำพังหรือไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง
  • อย่า! ทดสอบโดยการสูดดมหรือกลืนกิน
หลักการปฐมพยาบาลเบื้องต้นผู้ได้รับสารเคมี มีดังต่อไปนี้
              1. ถ้าได้รับอันตรายจากสารเคมีโดยการรับประทาน                  1.1 ลดอัตราการดูดซึมและทำให้สารเคมีเจือจางลง โดยให้ผู้ป่วยรีบดื่มนม หรือไข่ดิบ หรือดื่มน้ำเปล่าทันที และในกรณีที่ผู้ได้รับสารเคมีกำลังชักหรือสลบ อย่าให้ดื่มอะไรทั้งสิ้น
                  1.2 ทำให้อาเจียน โดยใช้นิ้วแหย่แถวเพดานคอ หรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่นจัด ๆ (ผสมเกลือ 1ช้อนโต๊ะในน้ำ 1 แก้ว) หรือทั้งดื่มและล้วงคอ เพื่อให้อาเจียนเอาสารพิษออกมา
             ข้อควรระวังในการทำให้อาเจียน คือ อย่าพยายามทำให้อาเจียนถ้าผู้ได้รับสารเคมีมีอาการชักหรือสลบเพราะจะทำให้เศษอาหารทะลักเข้าไปในหลอดลมและเกิดการอักเสบของปอดได้ ในกรณีที่ดื่มกรด ด่าง หรือน้ำยาฟีนอล (ยาดับกลิ่น) ถ้าดื่มกรดให้ดื่มน้ำปูนใสเพื่อช่วยทำให้เป็นกลางแล้วให้ดื่มนม เพื่อลดการระคายเคืองก่อน แล้วจึงทำให้อาเจียน ถ้าดื่มด่างให้ดื่มน้ำผลไม้ เช่น น้ำส้ม หรือน้ำผสมน้ำส้มสายชู เล็กน้อย แล้วดื่มนมหรือไข่ตีก่อนทำให้อาเจียน
                  1.3 ให้ยาถ่าย เพื่อช่วยขับสารเป็นพิษออกจากลำไส้ ยาถ่ายที่เหมาะสมที่สุดได้แก่ โซเดียมซัลเฟต ดีเกลือ น้ำมันระหุ่ง
             ข้อควรระวังในการให้ยาถ่ายนั้น อย่าให้ในรายที่ดื่มสารที่มีฤทธิ์กัดกร่อน เช่น กรด หรือ ด่าง ถ้าจะให้ ยาถ่ายในรายดื่มกรด หรือด่างควรให้หลังจากที่ให้ดื่มนมหรือไข่ตี หรือสารที่จะไปทำให้กรดหรือด่าง เป็นกลางก่อน
              2. ถ้าได้รับอันตรายจากสารเคมีที่ผิวหนัง ให้ล้างผิวหนังในบริเวณที่ถูกสารเคมี โดยใช้น้ำสะอาดล้างให้มากที่สุด เพื่อทำให้เจือจางและ ขับออก ถ้าสารเคมีหกรดเสื้อผ้าให้รีบถอดเสื้อผ้าออกก่อน ห้ามใช้สารแก้พิษใด ๆ เทลงไปบนผิวหนัง เพราะอาจเกิดความร้อนจากปฏิกิริยาเคมีทำให้แผลกว้างและเจ็บมากขึ้น
              3. ถ้าได้รับอันตรายจากสารเคมีที่ตา ให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดให้มากที่สุดทันที โดยเปิดเปลือกตาขึ้นให้น้ำไหลผ่านตาอย่างน้อย15 นาที ป้ายขี้ผึ้งป้ายตา แล้วรีบนำส่งแพทย์โดยเร็วห้ามใช้สารเคมีแก้พิษใด ๆ ทั้งสิ้น
              4. ถ้าได้รับอันตรายจากสารเคมีในการสูดดม ให้ย้ายผู้ได้รับสารเคมีนั้นออกจากบรรยากาศของสารเคมี ไปที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ช่วยผายปอด หรือกระตุ้นการหายใจด้วยยาดมฉุน ๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น