วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ซ็อมแผนรับมือสารเคมีอันตรายรั่วไหล


กรมโรงงานฯตื่น ไล่บี้เคมีมหาภัย

กรณีเอ็นจีโอร่วมมือกับชาวมาบตาพุด จ.ระยองยื่นฟ้องศาลปกครองกลางเพิกถอนมติ ครม. ที่อนุญาตให้ดำเนินการอุตสาหกรรมบางประเภทที่เข้าข่ายเป็นกิจการรุนแรง ถือเป็นอีกบทเรียนราคาแพงที่อุตสาหกรรมไทยไม่ควรลืม

ยอมรับกันเสียที เมื่อเทียบกับอีกหลายประเทศ ที่ผ่านมาเมืองไทยยังอ่อนหัดเอามากๆกับเรื่อง เทคโนโลยีความปลอดภัยในอุตสาหกรรม

ไม่ ว่าจะเป็นวิธีจัดการกับสารเคมีอันตรายสูง ซึ่งมีใช้กันเกลื่อนในโรงงานหลายพันแห่ง รูปแบบการขนถ่าย ขนส่ง วิธีแก้ปัญหาเมื่อสารเคมีอันตรายเกิดการรั่วไหล มาตรการกำจัดสารพิษที่ภาคอุตสาหกรรมปล่อยสู่สาธารณะ หรือแม้ แต่การทำให้ชาวบ้านรอบโรงงานรู้สึกว่า ตัวเองปลอดภัยจากอุตสาหกรรมที่อยู่รายรอบพวกเขา

ปัญหาเหล่านี้ นับว่าอุตสาหกรรมไทยยังอ่อนหัดต่อโลก

วัน ก่อน สำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม จึงได้จัดอบรมขนานใหญ่ให้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรม เพื่อหวังให้สามารถจัดการกับสารเคมีอันตรายสูงซึ่งมีใช้กันเกลื่อนตามโรงงาน อย่างถูกต้อง โดยจัดขึ้นที่โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค

อุฤทธิ์ ศรีหนองโคตร รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ประธานการอบรม เปิดประเด็นว่า เวลานี้เมืองไทยมีการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างก้าวกระโดด ทำให้โรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งเร่งพัฒนาตัวเองให้สามารถแข่งขันกับนานา ประเทศให้ได้

แต่สิ่งที่เป็นปัญหาตามมาเสมือนเงาตามตัวก็คือ น้ำเสีย มลพิษในอากาศ และกากอุตสาหกรรม ดังเช่นที่เคยเป็นข่าวใหญ่ กรณีแก๊สหรือสารเคมีรั่วไหล ที่มาบตาพุด จ.ระยอง และตามที่ต่างๆ

"เมื่อ ก่อนพอรู้ว่าจะมีใครไปตั้งโรงงานอุตสาหกรรม ชาวบ้านละแวกนั้น มักดีใจจนเนื้อเต้น เพราะพอเดาได้ว่า อีกไม่นานจะเกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชน ผิดกับเดี๋ยวนี้แค่รู้ข่าวว่าจะมีใครมาตั้งโรงงานแถวใกล้บ้าน ชาวบ้านพากันหวาดผวา รวมตัวต่อต้านกันไว้ก่อน เพราะไม่ไว้ใจ ว่าอุตสาหกรรมเหล่านั้น จะนำพิษภัยมาให้หรือเปล่า"

รองอธิบดีกรม โรงงานอุตสาหกรรม บอกว่า ดังนั้น สิ่งแรกที่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยุคนี้ต้องตระหนักก็คือ ทำอย่างไรจึงจะให้ชุมชนเกิดความเชื่อมั่นว่า สารเคมีที่ท่านใช้ในกระบวนการผลิตมีความปลอดภัยแค่ไหน มีมาตรการจัดเก็บและกำจัดยามเมื่อเกิดเหตุรั่วไหลอย่างไร เป็นต้น

โดย เฉพาะการบริหารจัดการกับสารเคมีที่มีอันตรายร้ายแรง เป็นเรื่องที่จำเป็นมาก หากเจ้าของอุตสาหกรรมสามารถทำให้ชาวบ้านเกิดความมั่นใจได้ทั้งระบบ ชุมชนจึงจะเกิดความเชื่อมั่นต่อภาคอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมจึงจะอยู่คู่กับชุมชนได้อย่างยั่งยืน

รองฯอุฤทธิ์บอกว่า ในปี 2553 กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้จัดทำคู่มือการจัดการกับสารเคมีอันตรายสูง 3 ตัวแรก ซึ่งเป็นที่นิยมใช้ในภาคอุตสาหกรรมไทย

ได้แก่ แอมโมเนีย กรดซัลฟูริก และ ฟอร์มาลดีไฮด์ โดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ 2 คน คือ นายมงคล พันธุมโกมล และ นายกฤตพัฒน์ จุ้ยเตย เป็นวิทยากรให้ความรู้

แอมโมเนีย ซึ่งเป็นสารเคมีอันตรายสูงตัวแรก ปัจจุบันมีการนำเข้ามาใช้ในประเทศไทยมากถึงปีละประมาณ 3 แสนตัน สารเคมีชนิดนี้ถูกนำไปใช้ ประโยชน์ในอุตสาหกรรมผลิตไนลอนมากที่สุดถึง 46%

นำ ไปใช้ในกระบวนการผลิตผงชูรสราว 18% นำไปเป็นส่วนผสมในน้ำยางข้น เพื่อไม่ให้น้ำยางแข็งตัว และใช้ผลิตถุงมือยางอีกราว 15% ใช้ในรูปของสารเคมี 12% ใช้ในอุตสาหกรรมห้องเย็นและโรงน้ำแข็ง 3% และใช้ในอุตสาหกรรมฟอกย้อม 1%

ที่ผ่านมาอุบัติเหตุจากสารแอมโมเนีย รั่วไหลในเมืองไทย ส่วนใหญ่เกิดขึ้นตามโรงงานห้องเย็น และโรงผลิตน้ำแข็ง โดยสาเหตุหลักของการรั่วไหล มักเกิดจากอุปกรณ์ชำรุด และความผิดพลาดในการปฏิบัติงาน

แอมโมเนียซึ่งมีสถานะเป็นก๊าซไวไฟ เมื่อบรรจุภายใต้ความดันทำให้เกิดการระเบิดได้หากได้รับความร้อน นอกจากนี้ ยังเป็นอันตรายเมื่อสูดดมเข้าไป อาจทำให้เกิดอาการแพ้หรือหอบหืด หายใจลำบาก เมื่อร่างกายสัมผัสอาจทำให้ ผิวหนังไหม้อย่างรุนแรง และยังเป็นพิษร้ายแรงต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ

ดังนั้น ข้อพึงระวังสารเคมีชนิดนี้ต้องใช้งานในสถานที่ซึ่งมีการเปิดระบายอากาศได้ดี และห้ามปล่อยน้ำซึ่งเจือปนแอมโมเนียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะโดยเด็ดขาด

วัสดุ ที่ปนเปื้อนสารแอมโมเนีย รวมทั้งน้ำที่ใช้ล้างและน้ำจากการระงับเหตุสารแอมโมเนียรั่วไหล จะต้องทำให้มีสภาพเป็นกลางเสียก่อน เช่น ใช้กรดเกลือชนิดเข้มข้น 5% นำมาผสม ก่อนระบายลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ

หรือกรณีน้ำมันหล่อลื่นที่ถ่ายออก จากระบบทำความเย็น ซึ่งมีสารแอมโมเนียปนเปื้อน ต้องส่งไปกำจัดโดยผู้ที่ได้รับอนุญาต และใช้วิธีการกำจัดที่ถูกต้องเท่านั้น

กรดซัลฟูริก เป็นสารเคมีอันตรายสูงอีกตัว ที่ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง

หาก ยังจำกันได้เมื่อ 10 ปีก่อน มีข่าวใหญ่กรณีผู้เสียชีวิต 1 ราย และบาดเจ็บสาหัสอีก 2 ราย จากอุบัติเหตุกรดซัลฟูริกรั่วไหลออกจากแท็งก์บนรถบรรทุก ที่ จ.สมุทรสาคร เนื่องจากมีก๊าซไฮโดรเจนสะสมอยู่ในแท็งก์ โดยประกายไฟจากการเชื่อมเพื่อซ่อมรอยรั่วของแท็งก์บรรจุกรดซัลฟูริกทำให้ เกิดแรงระเบิดมหาศาล

ทุกวันนี้กรดซัลฟูริกถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมไทย อย่างกว้างขวาง เช่น ใช้ในกระบวนการผลิตไนลอน 19% ใช้ในอุตสาหกรรมเรยอน 17% ใช้ผลิตสารส้ม 14% ผลิตผงชูรส 13% ใช้สกัดแร่ 9% ผลิตแบตเตอรี่ 2% และใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี 2% เป็นต้น

ข้อพึงระวังในการใช้กรดชนิด นี้ นอกจากห้ามหายใจเอาละอองไอของสารเคมีตัวนี้เข้าไป เพราะอาจเป็นอันตรายถึงตายได้ ขณะทำงานต้องสวมชุดและอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลไว้เสมอ

และสิ่งที่ต้องจำให้ขึ้นใจก็คือ กรดชนิดนี้เมื่อกัดกร่อนโลหะ จะทำให้เกิด ก๊าซไฮโดรเจน ซึ่งเป็นสารไวไฟ

กรณี ช่างเชื่อมแท็งก์ซึ่งบรรจุกรดซัลฟูริก 1 รายตายคาที่ อีก 2 รายบาดเจ็บสาหัส ที่ จ.สมุทรสาคร เป็นข่าวใหญ่เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ล้วนตายและบาดเจ็บจากสาเหตุนี้นั่นเอง


การกำจัดสารเคมีร้ายแรงชนิดนี้ จึงห้ามทิ้งลงสู่แหล่งน้ำหรือดินโดยตรง เพราะเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ และทำให้ค่าความเป็นกรด-ด่างในดินเปลี่ยนแปลง

อีกประเด็นที่ต้อง ตระหนักให้มากก็คือ ของเสียส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นจากการใช้กรดซัลฟูริก มีคุณสมบัติเป็นกรด จึงต้องปรับให้มีสภาพเป็นกลางด้วยด่าง โดยใช้ปูนขาวหรือหินปูนมาช่วยปรับสภาพ ก่อนที่จะนำของเสียเหล่านั้นไปทำการฝังกลบตามกฎหมาย

ฟอร์มาลดีไฮด์ และ ฟอร์มาลิน เปรียบเสมือนดาวร้ายที่แฝงมาในคราบพระเอกอีกตัวในแวดวงอุตสาหกรรมไทย

เนื่องจาก มีการนำไปใช้ประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรมอย่างกว้างขวาง โดยปริมาณมากถึง 70% ถูกนำไปใช้ในรูปของยูเรียฟอร์มาลดีไฮด์ เพื่อผลิตเป็นพาติเกิลบอร์ด และสารเคลือบต่างๆ

14% ถูกนำไปใช้ในรูปโพลีอะซีทัล เพื่อผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า

นอกจาก นี้ ยังถูกนำไปใช้ในกระบวนการผลิตฉนวนกันความร้อน ผ้าเบรกรถยนต์ ใบเจีย ใบตัด ทรายทำแบบหล่อ ถ้วยชาม สารเคลือบเมลามีน สารฆ่าเชื้อ สารกันเสีย ยาฆ่าแมลง รวมทั้งใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ

เนื่องจากสารเคมีชนิดนี้ เป็นของเหลวไวไฟ จึงเป็นอันตรายเมื่อกลืนกิน เป็นพิษเมื่อสัมผัสผิวหนัง และเป็นอันตรายถึงตายได้เมื่อสูดดมเอาไอเข้าไปเป็นปริมาณมาก

รายงานวิจัยล่าสุด ยังมีข้อสงสัยว่า สารเคมีร้ายแรงชนิดนี้อาจทำให้เกิดความผิดปกติต่อพันธุกรรม และทำให้เกิดโรคมะเร็ง

ดัง นั้น เมื่อฟอร์มาลดีไฮด์และฟอร์มาลินเกิดการรั่วไหล ผู้เข้าไปกู้ สถานการณ์จำเป็นต้องสวมอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยที่เหมาะสม และกันผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องออกจากบริเวณ โดยอพยพผู้คนออกไปทางเหนือลม และใช้น้ำฉีดเป็นฝอยเพื่อดักกลุ่มไอระเหย

มาตรการกำจัดของเสีย โรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้สารชนิดนี้ต้องละลายของเสียจากฟอร์มาลินด้วยน้ำ ปริมาณมาก และเติมสารละลายไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 50% ลงไปก่อนที่จะนำไปเข้าระบบบำบัดน้ำเสียอีกชั้น

สำหรับกากของเสียซึ่ง เป็นของแข็ง ห้ามใช้วิธีฝังกลบเพราะสลายตัวยาก วิธีการที่ถูกต้องจะต้องนำส่งให้ผู้ประกอบการซึ่งได้รับอนุญาตเป็นผู้นำไป กำจัดด้วยวิธีเผาที่อุณหภูมิสูงเท่านั้น

แม้ทุกรัฐบาลต้องการนำพา ประเทศให้เติบโตอย่างถาวร โดยใช้ อุตสาหกรรมเป็นตัวขับเคลื่อน แต่การบ้านข้อแรกที่ต้องไม่ลืมก็คือ จะจัดการอย่างไรกับพิษภัยที่ตามมาจากอุตสาหกรรม

อันตรายจากสารเคมีกับทางอากาศที่ดีเพื่อสุขภาพ


สารเคมีและวัตถุอันตรายในอุตสาหกรรม : รู้เร็วตายช้า รู้ช้าตายเร็ว

ผลสำเร็จจากการพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7

ผลักดันให้เศรษฐกิจของประเทศ ขยายตัวเพิ่ม ขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 8.2 ต่อปี โดยมีรายได้

เฉลี่ยต่อหัวของประชากรในปี พ.ศ.2537 ประมาณ 60,000 บาท ฐานะทางเศรษฐกิจการ

เงินของ ประเทศอยู่ในเกณฑ์ดี มีเสถียรภาพ สัดส่วนคนยากจนต่อประชากรทั้งประเทศลด

ลงจากร้อยละ 26.3 ในปี พ.ศ.2529 เหลือร้อยละ 13.7 ในปี พ.ศ.2535 และปัจจุบัน

ธนาคารโลก ได้ประกาศให้ประเทศไทย หลุดพ้นจาการเป็น ประเทศยากจนแล้ว จาก

ข้อมูลตัวเลขดังกล่าว ทำให้เราสามารถมองภาพรวมของการพัฒนาประเทศไทย เป็นภาพ

ที่ประสบผลสำเร็จ และบรรลุเป้าหมาย ในการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างดียิ่ง แต่เบื้อง

หลังตัวเลขความสำเร็จที่สวยหรูนี้ ได้ซ่อนบาด แผลแห่ง การพัฒนาให้เกิดขึ้นกับสังคม

และสิ่งแวดล้อมนานับประการ อาทิเช่น สภาพสังคมมีความสับสนและมีความเป็นวัตถุนิยม

มากขึ้น ช่องว่างของการกระจายรายได้ของประชากรทั้งประเทศยัง มีแนวโน้มสูง ทรัพยากร

ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมถูกทำลายลงไป ตลอดเวลา สาเหตุต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนแต่ทำให้

คุณภาพชีวิตของคนไทยในสังคมเสื่อม โทรมลงไปเป็นลำดับ

          จากนโยบายขยายภาคการผลิต โดยยึดหลักการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและ

เทคโนโลยีเป็นฐาน แต่มิได้คำนึงถึงแนวทางการ อนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ การป้องกัน

ปัญหามลพิษและขาดหลักการกำจัดกากของเสียที่ถูกต้อง ส่งผลให้มีการนำเข้าสารเคมี

ทั้งในภาค เกษตรกรรมและอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมาก โดยขาดการป้องกันผลกระทบทาง

ด้านสิ่งแวดล้อม คิดโดยเฉลี่ยรายปี เป็นสารเคมีประเภทสารอนินทรีย์ประมาณ 270,000

ตัน และสารอินทรีย์ประมาณ 300,000 ตัน การใช้สารเคมีดังกล่าวยังไม่ถูก ต้องตรงตาม

หลักวิชา เนื่องจากผู้ใช้และผู้รับผิดชอบยังขาดความรู้ ความเข้าใจ และขาดการจัดการที่ดี

เป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติภัย และสารพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้เกิดอันตรายต่อ

มนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ตลอดจนเป็นปัญหาต่อการส่งออกผลิตภัณฑ์ไป จำหน่ายยังตลาด

โลก เมื่อเป็นเช่นนี้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสารเคมีและวัตถุมีพิษ จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่าง

ยิ่งที่ผู้ประกอบการและ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายจะต้องให้ความสนใจใฝ่รู้ และระมัดระวัง

เป็นพิเศษ เพราะสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ล้วนส่งผลกระทบอย่างร้ายแรง ทั้งทางตรงและทางอ้อม

ต่อสิ่งมีชีวิต นับจากปัจจุบันสู่อนาคตและมนุษย์ ไม่สามารถจะปฏิเสธ หรือหลีกเลี่ยงความ

รับผิดชอบ เหล่านี้ได้เลย

 สถิติตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับจำนวนโรงงาน อุตสาหกรรมได้ระบุ ไว้ว่า ในปี พ.ศ. 2538

ประเทศไทยมีจำนวนโรงงาน อุตสาหกรรม กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคเป็นจำนวนทั้งสิ้น

103,545 โรง ตามนโยบายการพัฒนาประเทศจากประเทศเกษตรกรรม สู่ความเป็น

ประเทศ อุตสาหกรรม ทำให้การนำเข้าสารเคมีและวัตถุอันตรายจากต่างประเทศมีแนวโน้ม

ขยายตัวในอัตราเร่งที่สูงมาก มีการประมาณว่าใน พ.ศ. 2543 ประเภทของอุตสาหกรรม

ที่จะเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมเส้นใยเทียม การผลิตสารกึ่งตัวนำ พลาสติก การผลิต

เหล็กกล้า การผลิตเยื่อไม้ และกระดาษ รวมทั้งอุตสาหกรรมเครื่องหนัง ซึ่งอุตสาหกรรม

ต่าง ๆ เหล่านี้จะชักนำให้ ปริมาณการใช้สารเคมีและวัตถุ อันตรายของประเทศเพิ่มสูงขึ้น

อย่างน่าสะพรึงกลัว โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตสารกึ่งตัวนำ ซึ่งมีการเคลื่อนย้าย

แหล่งผลิตภัณฑ์ อิเล็กทรอนิกส์ สำหรับใช้เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์จากประเทศกำลัง

พัฒนามากขึ้น เนื่องจาก ประเทศที่พัฒนาแล้วกำลังประสบปัญหา พิษภัยจากสารเคมีและ

วัตถุอันตราย รวมทั้งแรงงานในประเทศต่าง ๆ เหล่านั้น เกิดโรค จากการทำงาน

( Occupational Disease ) ที่ร้ายแรงเพิ่มมากขึ้นทุกขณะ
          หลักฐานที่ชี้ชัดอีกประการหนึ่งถึงการเพิ่มขึ้นของสารเคมีและวัตถุอันตราย

คือ กากของเสียอันตราย ( Harzadous wastes ) ที่ถูกปล่อยออกมาทำอันตรายต่อ

สิ่งแวดล้อม ซึ่งจากการประมาณการณ์พบว่า ปริมาณของเสียอันตรายส่วนใหญ่ มาจาก

แหล่งกำเนิด ทาง อุตสาหกรรมการผลิต ( ตารางที่ 1 ) และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ตามการ

พัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม สิ่งที่น่าจับตามองอีกอย่าง ก็คือ การกระจุกตัวของโรง

งานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการชุบ การกลึง การซ่อมอุปกรณ์ขนส่ง และอุตสาหกรรม

เคมี ในเขต กรุงเทพ มหานครและปริมณฑล ซึ่งมีจำนวนถึง 9,970 โรง และมีการจัดจ้าง

คนงานเข้ามา ทำงานในระบบถึงร้อยละ 80 ของคนงาน ทั้งประเทศ ดังนั้น ถ้าใช้ตัวเลข

ข้อมูลดังกล่าวเป็นฐานการพิจารณาแล้วมองย้อนกลับขึ้นไป สิ่งที่พอจะกระทำให้เรามอง

เห็นภาพก็คือ การที่จะทำ ให้ปัญหาที่เกิด จากสารเคมีและวัตถุอันตรายจากอุตสาหกรรม

ลดระดับความรุนแรงลงได้ จะต้งอเริ่มจากการ ให้ความรู้ และแนวทาง ปฎิบัติที่ถูกต้องกับ

บุคลากรและผู้เกี่ยวข้องในแวดวงอุตสาหกรรมเป็นอันดับแรก โดยเฉพาะใน พื้นที่ที่ต้อง

เผชิญ ความเสี่ยงจาก ความเสียหายถ้าเกิดอุบัติภัย เช่น ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

รวมทั้งพื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรม ทุกแห่ง ของประเทศ