วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สารเคมี
           สารเคมี คือวัสดุใดๆ ที่สามารถระบุองค์ประกอบทางเคมีที่แน่นอนได้ เช่น น้ำบริสุทธิ์(H2O) ประกอบด้วยธาตุ ไฮโดรเจน(H) 2 อะตอม และออกซิเจน(O) 1 อะตอม รวมตัวกัน หรือเกลือโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) ก็ประกอบด้วยธาตุ Na และ Cl อย่างละ 1 อะตอม
สารเคมี ในความหมายกว้างๆ สารเคมีหมายถึงสารอนินทรีย์ หรือสารอินทรีย์ที่มีสามารถระบุโมเลกุลของสารได้ อาจปรากฏอยู่ในธรรมชาติ หรือถูกสังเคราะห์ขึ้นจากปฏิกิริยาต่างๆ ก็ได้
           โดยทั่วไปแล้ว สารเคมีจะมีสถานะอยู่ 3 สถานะเช่นเดียวกันกับสสาร ได้แก่ ของแข็ง ของเหลว และก๊าซ หรือ พลาสมา สามารถเปลี่ยนสถานนะได้ เมื่อสภาวะหรือเงื่อนไขเปลี่ยนไป เช่น เปลี่ยนอุณหภูมิ ความดัน โดยใช้ปฏิกิริยาทางเคมี ก็สามารถเปลี่ยนจากสารเคมีหนึ่ง ไปเป็นสารเคมีตัวใหม่ได้ ส่วนพลังงาน เช่น แสง หรือความร้อน ไม่จัดอยู่ในรูปของสสาร จึงไม่อยู่ในกลุ่มของสารเคมีในคำจำกัดความนี้

             ธาตุ ก็มีความหมายถึงสารเคมีเหมือนกัน ไม่สามารถทำลายหรือเปลี่ยนรูปไปเป็นสารเคมีตัวอื่นๆ ด้วยการใช้ปฏิกิริยาทางเคมี แต่สามารถเปลี่ยนรูปโดยใช้ปฏิกิริยานิวเคลียร์ เนื่องจากอะตอมของธาตุแต่ละชนิดจะมีนิวตรอน โปรตอน และอิเล็คตรอน หากเปลี่ยนโดยการเพิ่มนิวตรอนของธาตุเดิม ก็จะได้ไอโซโทป(isotope) ของธาตุนั้นเกิดขึ้นใหม่ เป็นต้น ปัจจุบันมีการค้นพบธาตุเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อยู่ที่ประมาณ 120 ธาตุ มี 80 ธาตุที่มีความเสถียร ธาตุหลักๆ จัดอยู่ในกลุ่มของโลหะ เช่น ทองแดง(Cu) เหล็ก(Fe) ทองคำ(Au) ซึ่งมีคุณสมบัติ นำไฟฟ้า และนำความร้อนได้ดี ส่วนธาตุอโลหะ เช่น คาร์บอน(C) ไนโตรเจน(N) และออกซิเจน(O) จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างจะโลหะข้างต้น นอกจากนั้นยังมีธาตุในกลุ่มกึ่งโลหะ(metalloids) เช่น ซิลิกอน(Si) จะมีคุณสมบัติเป็นทั้งโลหะและอโลหะ
             สารประกอบ เกิดจากการรวมตัวกันของธาตุมากกว่า 2 อะตอมขึ้นไปในสัดส่วนที่คงที่ ซึ่งจะมีคุณสมบัติแตกต่างจากธาตุเริ่มต้น
             ของผสม ประกอบด้วยสารผสมกันตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป เช่น นม อากาศ ซีเมนต์ เครื่องดื่ม ซึ่งมีองค์ประกอบไม่คงที่ ขึ้นอยู่กับสภาวะต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น อากาศที่มีแตกต่างกัน ระหว่างบริเวณชานเมือง และในตัวเมือง ของผสมแบ่งย่อยได้อีก 2 ประเภท คือ ของผสมเนื้อเดียว (ทุกส่วนละลายเป็นเนื้อเดียวกันทั้งหมด) และของผสมเนื้อผสม (ทุกส่วนไม่ละลายเป็นเนื้อเดียวกันทั้งหมด)

แก็ก สารเคมี

                       
              
                     หลักในการควบคุมและป้องกันอันตราย จากสารเคมี        แหล่งกำเนิดของสารเคมี
               ใช้สารที่มีพิษน้อยกว่าแทน
  • เปลี่ยนกระบวนการผลิตใหม่ เช่น ใช้ระบบเปียกแทนระบบแห้ง เพื่อมิให้เกิดฝุ่นฟุ้งกระจาย
  • แยกกระบวนการผลิตที่มีอันตรายออกต่างหาก
  • สร้างที่ปกปิดกระบวนการผลิตให้มิดชิด มิให้สารเคมีฟุ้งกระจายออกไป
  • ติดตั้งระบบดูดอากาศเฉพาะที่
  • การบำรุงรักษา เครื่องมือ เครื่องจักร
       ทางผ่านของสารเคมี
  • การบำรุงรักษาสถานที่ทำงานให้สะอาดเรียบร้อย
  • การติดตั้งระบบระบายอากาศทั่วไป
  • เพิ่มระยะทางให้ผู้ปฏิบัติห่างจากแหล่งสารเคมี
  • การตรวจหาปริมาณสารเคมีเทียบกับค่ามาตรฐานความปลอดภัยจะต้องปรับปรุง แก้ไขหากสูงเกินกว่าค่ามาตรฐานความปลอดภัย
       ผู้ปฏิบัติงาน
  • การให้การศึกษาและการฝึกอบรมให้ทราบถึงอันตรายและการป้องกัน
  • การลดชั่วโมงการทำงานที่เกี่ยวกับสารเคมีที่เป็นอันตรายให้น้อยลง
  • การหมุนเวียนหรือการสับเปลี่ยนหน้าที่การปฏิบัติงาน
  • การให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานอยู่ในห้องที่ควบคุมเป็นพิเศษ
  • การตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน
  • การใช้เครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
       การใช้สารเคมี
  • ต้องทราบถึงอันตรายของสารเคมีและวิธีการควบคุม
  • ต้องล้างมือทุกครั้งหลังปฏิบัติงานกับสารเคมี
  • สวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลเสมอ
  • ทำความสะอาดบริเวณทำงานทุกครั้งหลังเลิกงาน
  • ปิดฝาภาชนะให้แน่นทุกครั้งหลังเลิกใช้
  • อย่า! ใช้ปากดูดสารเคมีแทนลูกยาง
  • จัดเก็บสารเคมีไว้ในที่เย็น อากาศถ่ายเทดี ห่างแหล่งกำเนิดประกายไฟ
  • อย่า! ปฏิบัติงานตามลำพังหรือไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง
  • อย่า! ทดสอบโดยการสูดดมหรือกลืนกิน
หลักการปฐมพยาบาลเบื้องต้นผู้ได้รับสารเคมี มีดังต่อไปนี้
              1. ถ้าได้รับอันตรายจากสารเคมีโดยการรับประทาน                  1.1 ลดอัตราการดูดซึมและทำให้สารเคมีเจือจางลง โดยให้ผู้ป่วยรีบดื่มนม หรือไข่ดิบ หรือดื่มน้ำเปล่าทันที และในกรณีที่ผู้ได้รับสารเคมีกำลังชักหรือสลบ อย่าให้ดื่มอะไรทั้งสิ้น
                  1.2 ทำให้อาเจียน โดยใช้นิ้วแหย่แถวเพดานคอ หรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่นจัด ๆ (ผสมเกลือ 1ช้อนโต๊ะในน้ำ 1 แก้ว) หรือทั้งดื่มและล้วงคอ เพื่อให้อาเจียนเอาสารพิษออกมา
             ข้อควรระวังในการทำให้อาเจียน คือ อย่าพยายามทำให้อาเจียนถ้าผู้ได้รับสารเคมีมีอาการชักหรือสลบเพราะจะทำให้เศษอาหารทะลักเข้าไปในหลอดลมและเกิดการอักเสบของปอดได้ ในกรณีที่ดื่มกรด ด่าง หรือน้ำยาฟีนอล (ยาดับกลิ่น) ถ้าดื่มกรดให้ดื่มน้ำปูนใสเพื่อช่วยทำให้เป็นกลางแล้วให้ดื่มนม เพื่อลดการระคายเคืองก่อน แล้วจึงทำให้อาเจียน ถ้าดื่มด่างให้ดื่มน้ำผลไม้ เช่น น้ำส้ม หรือน้ำผสมน้ำส้มสายชู เล็กน้อย แล้วดื่มนมหรือไข่ตีก่อนทำให้อาเจียน
                  1.3 ให้ยาถ่าย เพื่อช่วยขับสารเป็นพิษออกจากลำไส้ ยาถ่ายที่เหมาะสมที่สุดได้แก่ โซเดียมซัลเฟต ดีเกลือ น้ำมันระหุ่ง
             ข้อควรระวังในการให้ยาถ่ายนั้น อย่าให้ในรายที่ดื่มสารที่มีฤทธิ์กัดกร่อน เช่น กรด หรือ ด่าง ถ้าจะให้ ยาถ่ายในรายดื่มกรด หรือด่างควรให้หลังจากที่ให้ดื่มนมหรือไข่ตี หรือสารที่จะไปทำให้กรดหรือด่าง เป็นกลางก่อน
              2. ถ้าได้รับอันตรายจากสารเคมีที่ผิวหนัง ให้ล้างผิวหนังในบริเวณที่ถูกสารเคมี โดยใช้น้ำสะอาดล้างให้มากที่สุด เพื่อทำให้เจือจางและ ขับออก ถ้าสารเคมีหกรดเสื้อผ้าให้รีบถอดเสื้อผ้าออกก่อน ห้ามใช้สารแก้พิษใด ๆ เทลงไปบนผิวหนัง เพราะอาจเกิดความร้อนจากปฏิกิริยาเคมีทำให้แผลกว้างและเจ็บมากขึ้น
              3. ถ้าได้รับอันตรายจากสารเคมีที่ตา ให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดให้มากที่สุดทันที โดยเปิดเปลือกตาขึ้นให้น้ำไหลผ่านตาอย่างน้อย15 นาที ป้ายขี้ผึ้งป้ายตา แล้วรีบนำส่งแพทย์โดยเร็วห้ามใช้สารเคมีแก้พิษใด ๆ ทั้งสิ้น
              4. ถ้าได้รับอันตรายจากสารเคมีในการสูดดม ให้ย้ายผู้ได้รับสารเคมีนั้นออกจากบรรยากาศของสารเคมี ไปที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ช่วยผายปอด หรือกระตุ้นการหายใจด้วยยาดมฉุน ๆ

สัญลักษณ์ที่บนภาชนะบรรจุสารเคมีและวัตถุอันตราย

สัญลักษณ์
ความหมาย
ความเสี่ยงอันตราย
img4.gif


วัตถุระเบิด

ระเบิดได้เมื่อถูกกระแทกเสียดสี หรือถูกความร้อนเช่น ทีเอ็นที ดินปืน ดอกไม้ไฟ


- รังสีความร้อน
- แรงอัดอากาศ
- สะเก็ดระเบิด
img5.gif


ก๊าซไวไฟ

ติดไฟง่ายเมื่อถูกประกายไฟ  ก๊าซหุงต้ม ก๊าซไฮโดรเจน ก๊าซมีเทน ก๊าซอะเซทีลีน


- รังสีความร้อน
- แรงอัดอากาศ
- สะเก็ดเศษชิ้นส่วนภาชนะบรรจุ
- อาจเกิดภาวะขาดออกซิเจน
img6.gif

ก๊าซไม่ไวไฟและไม่เป็นพิษ

ไม่ไวไฟ ไม่เป็นพิษ แต่อาจเกิดระเบิดได้ หากภาชนะบรรจุถูกกระแทกอย่างแรง หรือได้รับความร้อนสูงจากภายนอก เช่น ก๊าซออกซิเจน ก๊าซไนโตรเจนเหลว ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์


- เกิดบาดแผลเนื่องจากสัมผัสของเหลว เย็นจัด
- แรงอัดอากาศ
- สะเก็ดเศษชิ้นส่วนภาชนะบรรจุ
img7.gif


ก๊าซพิษ

อาจตายได้เมื่อสูดดม เช่น ก๊าซคลอรีน ก๊าซแอมโมเนีย ก๊าซไฮโดรเจนคลอไรด์


- เป็นพิษหรือกัดกร่อน
- แรงอัดอากาศ
- สะเก็ดชิ้นส่วนภาชนะบรรจุ
- อันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
img8.gif


ของเหลวไวไฟ

ลุกติดไฟง่ายเมื่อถูกประกายไฟ เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง  ทินเนอร์  อะซิโตน ไซลีน


- รังสีความร้อน
- สะเก็ดเศษชิ้นส่วนภาชนะบรรจุ
- อันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
img9.gif


ของแข็งไวไฟ

ลุกติดไฟง่าย เมื่อถูกเสียดสี  หรือได้รับความร้อนสูง ภายใน 45 วินาที เช่น ผงกำมะถัน ฟอสฟอรัสแดง ไม้ขีดไฟ


- อาจก่อให้เกิดการระเบิดของผงฝุ่นสารเคมี
- เมื่อลุกไหม้จะสลายตัวให้ก๊าซพิษ
img10.gif


วัตถุที่เกิดการลุกไหม้ได้เอง

ลุกไหม้ได้เองเมื่อสัมผัสกับอากาศภายใน 5 นาที เช่น ฟอสฟอรัสขาว ฟอสฟอรัสเหลือง โซเดียมซัลไฟด์


- เมื่อลุกไหม้จะสลายตัวให้ก๊าซพิษ
- เกิดการลุกไหม้อย่างรุนแรงและมีความร้อนสูง
img11.gif


วัตถุที่ถูกน้ำแล้วให้ก๊าซไวไฟ

ถูกน้ำแล้วให้ก๊าซไวไฟหรือลุกติดไฟได้เองเช่น แคลเซียมคาร์ไบต์ โซเดียม ลิเธียม แมกเนเซียม



- ทำปฏิกิริยารุนแรงกับน้ำ
img12.gif


วัตถุออกซิไดส์

ไม่ติดไฟ ไม่ระเบิด แต่ช่วยให้สารอื่นเกิดการลุกไหม้ได้ดีขึ้น เช่น ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ โปแตสเซียมคลอเรต  แอมโมเนียไนเตรท


- เมื่อทำปฏิกิริยากับสารอินทรีย์ อาจเกิด การระเบิดหรือลุกไหม้
- เมื่อได้รับความร้อนสูงอาจสลายตัวให้ก๊าซพิษ
img13.gif

ออร์แกนิคเปอร์ออกไซด์

อาจเกิดระเบิดได้เมื่อถูกความร้อน เสียดสี หรือถูกกระแทกอย่างรุนแรง และสามารถทำปฏิกิริยารุนแรงกับสารอื่น ๆ  เช่น อะซิโตนเปอร์ออกไซด์ เมทิลเอทิลคีโตนเปอร์ออกไซด์ ไดเบนโซอิลเปอร์ออกไซด์


- ไวต่อการระเบิดเมื่อถูกกระแทกหรือเสียดสี
- ทำปฏิกิริยารุนแรงกับสารอินทรีย์
- เมื่อลุกติดไฟจะเกิดการเผาไหม้อย่างรวดเร็ว
img14.gif

วัตถุมีพิษ

ของแข็งหรือของเหลวปริมาณเล็กน้อยอาจทำให้เสียชีวิตหรือบาดเจ็บอย่างรุนแรงจากการกิน สูดดม  หรือสัมผัสทางผิวหนัง  เช่น อาร์ซีนิค ไซยาไนด์ ปรอท สารกำจัดศัตรูพืชโลหะหนักเป็นพิษ



- เป็นพิษ
- อันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
img16.gif

วัตถุติดเชื้อ

วัตถุที่มีเชื้อโรคปนเปื้อนและอาจทำให้เกิดโรคได้ เช่น ขยะติดเชื้อจากโรงพยาบาล เข็มฉีดยาใช้แล้ว เชื้อโรคแอนแทรกซ์ แบคทีเรีย ไวรัส


- แพร่เชื้อโรค
- อันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
img15.gif


วัตถุกัมมันตรังสี

วัตถุที่สามารถแผ่รังสีที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เช่น โคบอลต์ เรเดียม พลูโตเนียม ยูเรเนียม


- เป็นอันตรายต่อผิวหนัง
- มีผลต่อเม็ดเลือด
img17.gif

วัตถุกัดกร่อน

สามารถกัดกร่อนผิวหนังและเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ เช่น กรดเกลือ กรดกำมะถัน โซเดียมไฮดรอกไซด์ แคลเซียมไฮเปอร์คลอไรด์


- กัดกร่อนผิวหนังและระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ
- ทำปฏิกิริยากับโลหะทำให้เกิดก๊าซไวไฟ
- อันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
img18.gif

วัตถุอื่น ๆ ที่เป็นอันตราย

สารและสิ่งของที่ในขณะขนส่งมีความเป็นอันตรายและไม่จัดอยู่ในประเภท 1 ถึง 8 หรือสารที่มีการควบคุมอุณหภูมิในขณะขนส่งไม่ต่ำกว่า 100 องศาเซลเซียสในสภาพของเหลว หรือ
มีอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 240 องศาเซลเซียสในสภาพของแข็ง เช่น ยางมะตอยเหลว กำมะถันเหลว ขี้เถ้าจากเตาหลอมโลหะ


- อาจเกิดอันตรายต่อสุขภาพ
- อาจก่อให้เกิดความเป็นพิษ
- อาจเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม


การเคลื่อนย้ายสารวัตถุอันตราย